วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ถ้ำเขาบิน



ถ้ำเขาบิน ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองราชบุรีที่เป็นรอยต่อกับท้องที่อำเภอจอมบึง โดยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรีไปตามถนนสายราชบุรี - จอมบึง ประมาณ 20 กิโลเมตร ประวัติที่มาของถ้ำเขาบิน มีผู้ให้คำสันนิษฐานเป็นสองความเห็นด้วยกัน ความเห็นแรกเป็นเรื่องเล่าว่า มีพ่อค้าชาวจีนแล่นเรือสำเภาใหญ่ผ่านมา แล้วเรือเกิดชนหัวเขาด้านหนึ่งบิ่นไป ชื่อถ้ำเขาบินจึงคงเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “เขาบิ่น” ส่วนความเห็นที่สองเห็นว่า คงมาจากห้องหนึ่งภายในถ้ำมีหินย้อยที่มีพ่อค้าชาวจีนแล่นเรือสำเภาสีขาวหม่นยื่นออกมาเหมือนนกเขากำลังกระพือปีกจะบิน
ที่ตั้งของถ้ำเขาบินอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 272 เมตร ปากถ้ำสูงจากพื้นดินประมาณ 5 เมตร เนื้อที่ภายในถ้ำมีประมาณ 5 ไร่เศษ จากปากถ้ำถึงบริเวณลึกสุดมีความยาวประมาณ 500 เมตร บริเวณภายในถ้ำสามารถแบ่งออกเป็นถ้ำหรือคูหาใหญ่ๆ ได้ทั้งหมด 8 ห้อง ซึ่งแต่ละห้องได้มีการตั้งชื่อตามสภาพของหินงอกหินย้อยให้คล้องจองกันตามลำดับ โดยห้องแรกเป็นบริเวณกว้างที่นักท่องเที่ยวมารวมกัน เมื่อก้าวเข้ามาจากปากถ้ำ ซึ่งประดับด้วยหินงอกหินย้อยรูปทรงต่างๆ กันได้ตั้งชื่อว่า “โถงอาคันตุกะ” ห้องที่สองเป็นบริเวณที่มีหินงอกหินย้อยรูปทรงคล้ายริ้วของผ้าม่าน รูปกลีบมะเฟืองงดงาม จึงมีการตั้งชื่อว่า “ศิวะสถาน” ห้องที่สามเป็นบริเวณที่มีธารน้ำไหลผ่านจนทำให้หินงอกหินย้อยบริเวณนี้มีลักษณะคล้ายน้ำตก และลำธารก็ได้มีการตั้งชื่อว่า “ธารอโนดาษ” ห้องที่สี่อันเป็นที่มาของชื่อถ้ำเขาบินมีลักษณะของหินงอกหินย้อยคล้ายนกกำลังบิน มีการตั้งชื่อว่า “สกุณชาติคูหา” ห้องที่ห้าหินงอกหินย้อยมีลักษณะคล้ายเวทีที่มีฉากหลังท่ามกลางบรรยากาศโอ่อ่าราวกับห้องประชุม หรือสโมสร จึงมีการตั้งชื่อว่า “เทวสภาสโมสร” ส่วนห้องที่หกที่อยู่ในบริเวณท้ายสุดของถ้ำ และมีบ่อน้ำแร่ขนาดเล็กที่น้ำไม่เคยเหือดแห้งจนชาวบ้านเชื่อว่า เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อยู่ภายในมีการตั้งชื่อว่า “กินนรทัศนา” ห้องที่เจ็ดเป็นบริเวณที่มีหินงอกหินย้อยมีลักษณะคล้ายกับต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมากจึงตั้งชื่อว่า “พฤกษาหิมพานต์” และห้องสุดท้ายเนื่องจากหินงอกหินย้อยมีลักษณะรูปทรงคล้ายเหล่าฤาษี งู และดอกไม้นาๆชนิด ก็ได้ตั้งชื่อว่า “อุทยานทวยเทพ” ตามลำดับ
ถ้ำเขาบิน เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 17.00 น. เสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่ 8.30 – 17.00 น. ผู้สนในสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 032 – 329226 การเดินทาง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปตามทางหลวงหมายเลข 3087 (สายราชบุรี – จอมบึง – สวนผึ้ง) ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร บริเวณกิโลเมตรที่ 20 มีทางแยกซ้ายมือ เข้าไปประมาณ 1.6 กิโลเมตร

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เจดีย์หักเจติยาราม



เจดีย์หักเจติยาราม ตั้งอยู่ในเขตตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ยอดเจดีย์องค์นี้หักทลายลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เจดีย์หักเป็นศาสนสถานก่ออิฐไม่สอปูน สมัยกรุงศรีอยุธยา กำหนดอายุได้ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 19 มีรูปแบบเป็นเจดีย์ระฆังคว่ำ ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยม ทรวดทรงสูงเพรียว เป็นเจดีย์รุ่นเดียวกันนี้ ยังคงมีปรากฏให้เห็นอยู่ในจังหวัดอยุธยา ลพบุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี และเพชรบุรี รวมทั้งเจดีย์ที่เรียกว่าแบบอโยธยา ในบริเวณประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งสร้างขึ้นก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 จากการขุดแต่ง และบูรณะ ได้พบร่องรอยของวิหารที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก และพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายสีแดงจำนวนมาก เป็นพุทธศิลปะแบบที่นิยมสร้างในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สวนรุกขชาติถ้ำจอมพล





สวนรุกขชาติถ้ำจอมพล จัดตั้งและดำเนินงานโดยสำนักพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ ตั้งอยู่ที่ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรีไปทางทิศตะวันตก ตามถนนสายราชบุรี – จอมบึง ประมาณ 30 กิโลเมตร สภาพภายในสวนรุกขชาติถ้ำจอมพล ประกอบด้วนพื้นที่เขาจอมพล และพื้นที่ราบรวมกันประมาณ 178 ไร่ เป็นพื้นที่ราบประมาณ 42 ไร่ มีสภาพสังคมที่เกื้อกูลกันทั้งพรรณไม้และสัตว์ป่า สภาพป่าจัดอยู่ในประเภทป่าเบญจพรรณแล้ง มีพรรณไม้ที่สำคัญ เช่น ประดู่ สะเดา ตะแบก อินทนิล ฯลฯ และพันธุ์ไม้ที่ปลูกซ่อมแซมอีกหลายชนิด
โดยเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 ฯพฯ จอมพล ผิน ชุณหะวัณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร (ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี) ได้มาวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนของวิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง และได้เข้าชมถ้ำจอมพล เมื่อได้เห็นความสวยงามของหินงอก หินย้อยภายในถ้ำ และความร่มรื่นของป่าไม้บริเวณหน้าถ้ำแล้ว จึงได้ดำริว่าน่าจะรีบปรับปรุงสงวนเอาไว้ เพื่อจัดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป และเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่เสด็จประพาสของรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 จึงได้มอบให้กรมป่าไม้ ดำเนินการปรับปรุงเป็นสวนรุกขชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 เป็นต้นมา

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วัดบ้านโป่ง



วัดบ้านโป่ง ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนวิจิตรธรรมรส หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 48 ไร่ 3 งาน 34 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 52 ไร่ 1 งาน 92 ตารางวา อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วนคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูชนียวัตถุ มีเจดีย์ 5 องค์ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ มีพระพุทธเกษี และพระพุทธมงคลบพิตร ปัจจุบันมีพระพิศาลพัฒนโสภณ เป็นเจ้าอาวาส
วัดบ้านโป่ง ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2345 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ซึ่งมีอายุนานเกือบ 200 ปี ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง ไม่ห่างไกลจากสถานีรถไฟ เนื้อที่รอบๆ บริเวณวัด 500 กว่าไร่ มีประวัติความเป็นมาตามที่ผู้เฒ่าได้เล่าสืบต่อๆกันมา ว่าเดิมทีได้มีพระภิกษุลาวรูปหนึ่ง ได้มาสร้างกระท่อมมุงด้วยแฝก และได้จัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น หากแต่ที่วัดบ้านโป่งนั้นเต็มไปด้วยป่าไม้ใบหนา เป็นที่อยู่ของสัตว์นานาชนิด เต็มไปด้วยภัยอันตราย จึงไม่มีผู้ใดมาอาศัยอยู่ ต่อมาจึงเสื่อมโทรมลง และไม่มีผู้ใดทราบว่าพระภิกษุลาวรูปนั้นไปไหนและที่ใด ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 23 ได้มีพระภิกษุชาวรามัญรูปหนึ่ง ชื่อว่า “พระภิกษุด่าง” ได้สร้างเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่งมี 5 ยอด มีผู้คนชาวรามัญและชาวบ้านมาทำการสักการบูชาอยู่เสมอ จึงนับได้ว่าหลวงพ่อด่าง เป็นผู้ให้กำเนิดวัดบ้านโป่ง และเจดีย์ 5 ยอด อันเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ของวัดบ้านโป่ง

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ถ้ำจอมพล



ถ้ำจอมพล ตั้งอยู่ที่ตำบลจอมบึง จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากถ้ำเขาบินไป 11 กิโลเมตร ในบริเวณสวนรุกขชาติ ทางเข้าถ้ำจอมพลอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เดิมมีชื่อว่า “ถ้ำมุจลินทร์” ถ้ำนี้อยู่ในเขาชื่อ เขากลางเมือง มีความสูง 191 เมตร เมื่อปี พ.ศ. 2483 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้เสด็จประพาสถ้ำนี้ ทรงพอพระทัยความงามของหินงอกหินย้อย โดยเฉพาะหินย้อยผาวิจิตร ที่เหมือนริ้วไหมอินทรธนูบนบ่าของจอมพล จึงทรงพระราชทานนามถ้ำใหม่ว่า “ถ้ำจอมพล” นอกจากหินงอกหินย้อยที่สวยงามแล้ว แต่ละสถานที่ยังมีป้ายบอกชื่อไว้อย่างชัดเจน เช่น สร้อยระย้า ผาวิจิตร แส้จามรี บรมอาสน์ ธาตุเนรมิต มัสยาสถิต ประสิทธิ์เทวา และเกศาสยาม ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งมีงานฉลองเป็นประจำทุกปีในหน้าแล้ง เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.30 – 16.30 น. อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สะดือคูบัว



สะดือคูบัว เป็นหินแกรนิตจารึก ตั้งอยู่ที่วัดโขลงสุวรรณคีรี ตรงข้ามกับจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี โดยนำมาจากเหมืองหิน อำเภอบ้านตาก เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2549 ด้านที่ 1 มีอักษรธรรมล้านนา (อักษรไท-ยวน) กล่าวถึงผู้เขียนคำจารึก อักษรที่ใช้ในพุทธศักราช 2549 กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจารึก และอาณาเขตพื้นที่การปกครองของตำบลคูบัว ด้านที่ 2 กล่าวถึงประชาชนคูบัวมีภูมิปัญญาผลิตสินค้าชุมชน (OTOP) หลากหลายชนิด ร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิ สมาคม ชมรม พิพิธภัณฑ์จิปาถะฯ ความเป็นมาดั้งเดิมของพื้นที่โบราณสถานภายในเมืองโบราณคูบัว ด้านที่ 3 กล่าวถึงความเป็นมาโครตเหง้าไท-ยวน (เจ๊าเฮา) ที่เคลื่อนย้ายจากเมืองเชียงเสียน อาณาจักรล้านนาโบราณมาอยู่ที่คูบัว จังหวัดราชบุรี และด้านที่ 4 กล่าวถึงแผนที่อาณาเขตของตำบลคูบัว แผนที่จังหวัดราชบุรี และแผนที่ประเทศไทย ณ พุทธศักราช 2550 ตลอดจนรายชื่อผู้สนับสนุนบริจาคเงินซื้อหินจารึกก้อนนี้


ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ตลาดริมน้ำหลักเมือง






ตลาดริมน้ำหลักเมือง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี อยู่ในบริเวณวัดท้ายเมือง ติดกับริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ตลาดแห่งนี้เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2552 เป็นนโยบายแนวคิดของนางปาลิดา ประถมภัฏ นายกเทศมนตรีตำบลหลักเมือง ที่ต้องการให้ตลาดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของชุมชน ในการสร้างงาน สร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน และสามารถกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และได้จัดกิจกรรม “มหกรรมอาหารปลอดภัย” ขึ้นในตลาดริมน้ำหลักเมือง เพื่อเป็นต้นแบบในการจำหน่ายอาหารปลอดภัยที่ผ่านการควบคุม ดูแล และได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของท้องถิ่น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนชาวหลักเมือง ประชาชนสามารถเลือกซื้ออาหาร เครื่องอุปโภค บริโภค ได้ในราคาถูก สะอาด และปลอดภัย นอกจากนั้น ยังเป็นการต่อยอดอาชีพในชุมชน ที่เทศบาลสนับสนุนงบประมาณในการอบรม และประการสำคัญ การจัดตลาดริมน้ำหลักเมืองนี้ เป็นการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนได้ทราบถึงปูชนียบุคคล ของวัดท้ายเมืองที่มีอายุยืนยาวมานับร้อยปี ซึ่งพี่น้องที่มาจับจ่ายสินค้าจะมีโอกาสได้กราบไหว้บูชา เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกหลาน ที่จะได้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีให้คงอยู่สืบไป
โดยตลาดริมน้ำหลักเมือง จะเปิดทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ตั้งแต่ เวลา 6.00 – 14.00 น. ผู้สนใจที่จะค้าขายสินค้าสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลหลักเมือง เบอร์โทรศัพท์ 032 – 317073 ทุกวันเวลาราชการ

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วัดดอนตะโก



วัดดอนตะโก ตั้งอยู่เลขที่ 105 ถนนแม้นรำลึก หมู่ที่ 3 ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 13 ไร่ 2 งาน 61 ตารางวา วัดดอนตะโก ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2320 ตามคำบอกเล่าของผู้สูงอายุเล่าสืบกันมาว่า วัดนี้เดิมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 15 เส้น ของที่ตั้งวัดในปัจจุบัน เป็นที่ราบลุ่ม มีบ้านอยู่ติดกับวัดไม่มากนัก เดิมเป็นที่พักสงฆ์ ต่อมาชาวบ้านดอนตะโกตอนเหนือเห็นว่าที่ตั้งวัดเป็นที่กว้างสำหรับเลี้ยงควายของชาวบ้าน มีที่พักเกวียนของคนเดินทางอีกด้วย ประกอบกับมีประชากรอยู่มากกว่าที่เดิม จึงพร้อมใจกันย้ายวัดมาตั้งอยู่ที่คอกควาย เพื่อสะดวกแก่การทำบุญ โดยตั้งชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้านว่า “วัดดอนตะโก” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2522 มีพระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ วํสวณฺโณ เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 10 เมตร ยาว 26 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2521 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 21 เมตร ยาว 44 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น กฏิสงฆ์ จำนวน 4 หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง 12 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 2 หลัง และหอระฆัง 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วัดพเนินพลู



วัดพเนินพลู ตั้งอยู่ที่ตำบลบางป่า อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 8 ไร่ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 10 แปลง เนื้อที่ 49 ไร่ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2408 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2466 และเริ่มเป็นสำนักปฏิบัติธรรมเมื่อปี 2551 การบริหาร และการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระเก้า รูปที่ 2 พระครูวิมลกิติ รูปที่ 3 พระครูวิสุทธิธรรมมาภรณ์ และรูปที่ 4 พระครูภาวนาธรรมรังสี พ.ศ. 2538 – ปัจจุบัน ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลพงสวาย – บางป่า เจ้าคณะชั้นเอกวิปัสสนา ภายในวัดมีหลวงสัมฤทธิ์สิทธิโชคประทานพร พระประธานภายในศาลาปฎิบัติธรรมที่ประชาชนต่างมาบนบาน ขอพร โดยทางวัดได้จัดให้มีการบวชพราหมณ์เนกขัมมะในวันพ่อแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 3 – 6 ธันวาคม และการบวชพราหมณ์เนกขัมมะประจำปี ทุกวันที่ 3 เมษายน ของทุกปี


ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โบราณสถานบ้านคูบัว


โบราณสถานบ้านคูบัว ตั้งอยู่ที่วัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีขนาดสูงใหญ่ที่สุดในโบราณสถานทั้งหมดของเมืองโบราณคูบัว เป็นอาคารพุทธศาสนสถาน เนื่องในลัทธิมหายานที่สำคัญแห่งหนึ่ง กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งในปี พ.ศ. 2537 จากการขุดแต่งพบเฉพาะส่วนฐาน ขนาดความกว้าง 22.20 เมตร ความยาว 43.50 เมตร และสูง 5.5 เมตร จากร่องรอยหลักฐานที่ปรากฏ สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นฐานของพระวิหาร เนื่องจากมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดขึ้นไปสู่ลานประทักษิณ ชั้นบนทางด้านทิศตะวันออก ฐานประดับด้วยซุ้ม และเสาอิงที่แต่เดิมเคยมีรูปพระโพธิสัตว์ ทำด้วยรูปปั้นประดับตกแต่งลักษณะคล้ายคลึงกับฐานของโบราณสถานคลังใน กลางเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่สร้างขึ้นเนื่องในวัฒนธรรมทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11 – 13 และจากคำบอกเล่าของพระภิกษุภายในวัดโขลงสุวรรณคีรีกล่าวว่า โบราณสถานบ้านคูบัว ในอดีตเคยเป็นกรุสมบัติของปู่โสม ที่คอยดูแลรักษาโบราณสถานที่แห่งนี้ จนเป็นที่กล่าวขานกันมาว่า ปู่โสมเฝ้าทรัพย์

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว



จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ตั้งอยู่หมู่ 6 ตำบลคูบัว บริเวณวัดโขลงสุวรรณคีรี เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของชุมชนบ้านคูบัว ด้วยความริเริ่มของชุมชนหลายองค์กรในพื้นที่ อาทิ วัดโขลงสุวรรณคีรี มูลนิธิพัฒนาประชากรตำบลคูบัว สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดแคทราย ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรี ชมรมชาวไท-ยวน ราชบุรี โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างและปรับปรุงอาคารจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี สมาคมต่างๆได้ร่วมกันก่อสร้าง ตัวอาคารแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2546 จากนั้นจึงมอบหมายให้ ดร.อุดม สมพร มูลนิธิพัฒนาประชากรตำบลคูบัว เป็นประธานกรรมการจัดตกแต่งและจัดแสดงภายในรวมทั้งเป็นวิทยากรกิตติมศักดิ์ด้วย ภายในอาคารแบ่งออกเป็น 2 ชั้น จัดแบ่งออกเป็นห้องๆ ชั้นล่างจัดแสดงศิลปวัตถุโบราณสมัยทวารวดี หุ่นขี้ผึ้งจำลองการริเริ่มโครงการพิพิธภัณฑ์ ห้องแสดงวิถีชีวิตของชุมชนไท- ยวน ที่ได้เคลื่อนย้ายจากเมืองเชียงแสน เมื่อปี พ.ศ. 2347 มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองราชบุรี อาทิ เครื่องมืออุปกรณ์การประกอบอาชีพทำนา การเกษตร ชั้นบนจัดแสดงภูมิปัญญาการทอผ้าจกไท-ยวนเชียงแสน ห้องแสดงผ้าจกไท - ยวน เชียงแสนดั้งเดิมที่มีอายุกว่า 200 ปี จนถึงปัจจุบันและผ้าจกของลูกหลานไท-ยวน และห้องแสดงการแต่งกายของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในจังหวัดราชบุรี อาทิ ยวน โซ่ง ลาวเวียง มอญ กระเหรี่ยง จีน ไทยพื้นถิ่น เป็นต้น นอกจากนี้ภายนอกอาคารด้านขวามือยังเป็นอาคารเอนกประสงค์ที่ใช้เป็นที่รวมกลุ่มของชาวบ้านในพื้นที่ ใช้เป็นศูนย์ฝึกและศูนย์สาธิตการทอผ้าจก และทางด้านหน้าของอาคารมีเรือนไท-ยวนโบราณให้ศึกษาอีกด้วย โดยจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว จะเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น.(ควรติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม) ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ดร.อุดม สมพร เบอร์โทรศัพท์ 081 - 7631989

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หลวงพ่ออมรินทราเมศร์



หลวงพ่ออมรินทราเมศร์ พระประธานในวิหาร เป็นพระประธานคู่ ปางสะดุ้งมาร หันหลังให้กัน องค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ อีกองค์หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ ประจำวัดอมรินทราราม (วัดตาล) มีอายุ 191 ปี ผู้คนนิยมมากราบไหว้บูชา เพื่อขอพร หลวงพ่ออมรินทราเมศร์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 พุทธศักราช 2363 เมื่อเริ่มก่อสร้างวัดได้สร้างวิหารหลังนี้ขึ้นก่อน และใช้วิหารหลังนี้ทำสังฆกรรมแทนอุโบสถ เมื่อสร้างโบสถ์ (อุโบสถ) เสร็จแล้ว จึงใช้เป็นวิหารดังเดิม


ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ค่ายหลวงบ้านไร่



ค่ายหลวงบ้านไร่ อยู่ห่างจากตังจังหวัดประมาณ 19 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เคยเป็นที่ตั้งของค่ายลูกเสือในรัชกาลที่ 6 เมื่อพระองค์ยกกองลูกเสือมาซ้อมรบในจังหวัดราชบุรีหลายจุด ทางราชการได้สร้างพระบรมราชานุเสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในท่านั่งประทับทอดพระเนตรการซ้อมลูกเสือ ซึ่งได้เคยพระราชดำเนินมาร่วมประลองยุทธเสือป่า และลูกเสือ เพื่อให้รู้จักยุทธวิธีการสงคราม รู้จักการรักษาดินแดนของสยามประเทศ โดยทรงวางแผนนโยบาย และทรงสั่งสอนเสือป่าด้วยพระองค์เอง และได้เสด็จมาที่ค่ายหลวงบ้านไร่นี้หลายครั้ง เพื่อฝึกเสือป่าทางภาคปฏิบัติด้วยการซ้อมรบ สมมุติเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น มีการฝึกขุดสนามเพลาะหัตเพลงอาวุธ ฝึกสะกดรอย ตามรอยผู้ร้ายและในตอนกลางคืน พระองค์จะทรงเปิดแสดงละครร่วมกับคณะเสือป่า ที่ค่ายหลวงโพธาราม เพื่อให้เสือป่าและชาวบ้านได้ชม

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วัดพระศรีอารย์


วัดพระศรีอารย์ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ติดกับถนนเพชรเกษมประมาณ กม. ที่ 74 สร้างสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี 2275 มีอายุประมาณ 260 ปี เดิมชื่อวัดสระอาน ไม่มีพระภิกษุมาอยู่จำพรรษา จนถึงประมาณปี 2475 เริ่มมีพระภิกษุเข้ามาพักจำพรรษาเรื่อยมาในปี 2500 ได้เปลี่ยนชื่อจาก วัดสระอาน มาเป็น วัดพระศรีอารย์ อุโบสถทองคำร้อยล้าน ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 37 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 ภายในติดกระจก ลงรักปิดทองบานประตู หน้าต่างแกะสลักเรื่องพุทธประวัติ ฝาผนังแต่งแต้มด้วยจิตรกรรมเรื่องพระมหาชนก พระเจ้า 5 พระองค์ พระประธานในอุโบสถ สร้างจากหินหยกขาว หลวงพ่ออุตตมะ แห่งวัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี เมตตาอธิษฐาน ณ อุโบสถวัดพระศรีอารย์ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2536
นอกจากนี้แล้ว ที่วัดพระศรีอารย์ ยังจัดศูนย์อบรมค่ายพุทธบุตร สอนให้ยุวชนเข้าใจถึงหลักคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่มาชมอุโบสถทองคำร้อยล้านแห่งนี้แล้ว ยังจะมีโอกาสได้กราบสักการะร่างของหลวงพ่อขันธ์ (อดีตเจ้าอาวาส) ที่ไม่เน่าเปื่อยอยู่ในโลงแก้วอีกด้วย ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0 3223 2595 , 0 3223 1351

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สวนศิลป์ บ้านดิน



สวนศิลป์ บ้านดิน ตั้งอยู่ที่ตำบลเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี ถือกำเนิด จากดำริ ของครูเล็ก ภัทราวดี มีชูธน ผู้อำนวยการภัทราวดี เธียเตอร์ ในการที่จะจัดสร้าง เพื่อเป็นสถานที่ถ่ายทำละครโทรทัศน์ เรื่อง “ตม” ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ด้วยการสร้างสรรค์ของนายดี ศิลปินดินปั้น เมื่อปี พ.ศ. 2546 เป็นบ้านที่ก่อสร้างด้วยดินผสมแกลบตลอดทั้งหลัง และในปีเดียวกัน สวนศิลป์ บ้านดิน ได้ปรับปรุงต่อเติม และก่อตั้งเป็นศิลปะสถานท่ามกลางธรรมชาติล้อมรอบด้วยคูน้ำ และสวนมะม่วงบนเนื้อที่ 3 ไร่ เพื่อให้เป็นสถานที่รองรับกิจกรรมต่างๆ ในทุกรูปแบบอย่างครบวงจรเพื่อสร้าง พัฒนา และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านศิลปะในแขนงต่างๆ ระหว่าง ศิลปิน นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป เปิดสอนวาดภาพ รำไทย โขน ดนตรีไทย นาฏศิลป์พื้นบ้าน นาฎศิลป์ร่วมสมัย นาฏศิลป์ตะวันตก และศิลปะป้องกันตัว ภายใต้การดูแลของภัทราวดี เธียเตอร์ ดำเนินงานโดย คุณมานพ มีจำรัส ผู้อำนวยการสวนศิลป์ บ้านดิน ราชบุรี นักแสดง ผู้กำกับลีลา ผู้มีความเชี่ยวชาญทั้งศิลปะไทย และสากล ได้รับทุนจากภัทราวดี เธียเตอร์ เพื่อศึกษาศิลปะศาสตร์หลากหลายสาขาทั้งใน และต่างประเทศตั้งแต่ปี 2535 ได้รับเกียรติจากกระทรวงวัฒนธรรมให้เป็นศิลปินร่วมสมัย รางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดงร่วมสมัยประจำปี พ.ศ. 2548 ภายในบริเวณสวนศิลป์ บ้านดิน ยังมีบริการที่พัก มุมคอฟฟี่ช็อป และอาหารมังสวิรัติ ให้บริการเช่าสถานที่ทำกิจกรรม สัมมนา หรือจัดการแสดงด้วย ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 032-397668 หรือ 081 - 8317041

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โบสถ์คริสต์วัดพระหฤทัยวัดเพลง



โบสถ์คริสต์วัดพระหฤทัยวัดเพลง ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ตั้งอยู่ริมคลองแควอ้อม มีอายุกว่า 100 ปี โดยโบสถ์หลังแรกเป็นโบสถ์ไม้ โบสถ์หลังปัจจุบันเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2423 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2446 ปัจจุบันโบสถ์พระหฤทัยวัดเพลงมีรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบโกธิค ลักษณะโครงเป็นแบบผนังรับน้ำหนัก ถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็มไม้ผนังก่ออิฐฉาบปูน ลักษณะโดยรวมงดงามมาก ทางโบสถ์ได้จัดงานครบรอบ 100 ปี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2546


ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วัดบ้านกล้วย


วัดบ้านกล้วย ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ตั้งอยู่ติดกับริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง สร้างวัดในสมัยตอนปลายอยุธยา พ.ศ. ใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ความเป็นมาของวัดบ้านกล้วย และท้องถิ่นวัด เป็นที่ตั้งของโรงเรียนประชาบาล แห่งแรกของตำบลโคกหม้อ ตำบลท่าราบ ตำบลหนองกลางนา วัดบ้านกล้วยแห่งนี้เป็นวัดอรัญวาสี (วัดชนบท) ซึ่งอยู่ใกล้เมือง ได้แก่ วัดโคกหม้อ วัดอรัญญิก วัดเจดีย์หัก มีวัดที่เป็นศูนย์กลาง คือวัดมหาธาตุวรวิหาร ประชาชนสองฝั่งแม่น้ำแม่กลองตอนใต้ และตอนเหนือขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นชาวมอญ เดิมมีอาชีพทำนา และค้าขาย (ทางน้ำ) ได้แก่ กลองมอญอยู่ใต้วัด ทางเสด็จอยู่ใกล้บ้านอดีตผู้ใหญ่หนุ่ม ต่อมามีชาวจีนมาอยู่สันนิษฐานว่ามาจากซัวเถา เป็นลูกหลานจีนมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนนาถสารีโภชน์ เป็นนายบ้าน คือผู้ใหญ่บ้าน ที่สืบเชื้อสายมาจาก ขุนนาถสารีโภชน์ คือ ตระกูลโภชน์พันธ์ศรีโยธิน เป็นต้น

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วัดหนองเกษร



วัดหนองเกษร ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี อยู่ติดกับหนองน้ำสระบางควาย ที่ปัจจุบันชาวบ้านใช้เป็นบ่อน้ำสาธารณูปโภค วัดหนองเกษรสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2517 โดยโยมผาด คล้ายพลั้ง ได้มาซื้อพื้นที่บริเวณนี้สร้างวัด มีจำนวนเนื้อที่ 25 ไร่ เป็นเงิน 80,000 บาท ตอนแรกพื้นที่บริเวณนี้เป็นสำนักสงฆ์ปิ่นประชา จากนั้นในปีพุทธศักราช 2522 ได้มีการปิดทองฝังลูกนิมิต จึงเปลี่ยนจากสำนักสงฆ์ปิ่นประชา มาเป็นวัดหนองเกษร ปัจจุบันมีพระครูพิพัฒน์ ปัญญาคม (หลวงพ่อปิ่น) เป็นเจ้าอาวาส ภายในบริเวณวัดมีวิหารหลวงพ่อเกษร วิหารเล็กหลวงพ่อวัดปากน้ำ โบสถ์ที่ทางวัดทำเรื่องส่งไปที่สำนักพระราชวัง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระประธานไว้ในโบสถ์ และได้ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร เสด็จมาเบิกเนตรพระประธานในโบสถ์ ปีพุทธศักราช 2519 นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมี ศาลตายาย พ่อโควิน และแม่ชี เจ้าของพื้นที่วัดหนองเกษรก่อนที่โยมผาดจะมาซื้อที่ ซึ่งทางวัดได้จัดให้มีงานประจำปีแห่หลวงพ่อเกษร ทุกวันพฤหัสแรกของเดือน 5 ทุกปี มีการจัดกิจกรรมแห่ผ้าไตร และทำพิธีไหว้ครูรูปหล่อหลวงพ่อเกษร

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา
วันที่ 7 – 10 – 52

ศาลเจ้าพ่อหลักหิน



ศาลเจ้าพ่อหลักหิน สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด มีแต่เอกสารบางชิ้นประกอบกับคนสมัยโบราณเล่ากันต่อๆมา พอจะอนุโลมตามข้อเท็จจริงได้ว่า เมื่อประมาณ 1,000 ปีล่วงมาแล้ว ในสมัยทวารวดีมีหลักศิลาจารึก เรียกว่า “เจ้าพ่อหลักหิน” ประดิษฐานอยู่ระหว่างบ้านหนองเกษร กับวัดโขลง ถิ่นเดียวกับวัดคูบัว ซึ่งกรมศิลปากรได้ยกเมืองคูบัวขึ้นเป็นเมืองประวัติศาสตร์
เมื่อประมาณ 60 – 70 ปีมาแล้ว มีชาวนาแถวบริเวณบ้านหนองเกษร กำลังลงแขกนวดข้าว ได้งมหลักศิลาจารึกขึ้นมาจากลำคลอง 1 แท่ง ลักษณะท่อนล่างคล้ายดอกบัวตูม ช่วงบนเป็นสี่เหลี่ยมเสมอกัน ยอดเป็นรูปจั่วมีสีเขียวคล้ำ ยาวประมาณ 1 เมตรเศษ เชื่อว่าคงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จึงนำหลักขึ้นเกวียนร่วมกันแห่ เพื่อนำมามอบให้กับที่ว่าการกิ่งอำเภอวัดเพลง และได้ทำพิธีอัญเชิญหลักหิน มาประดิษฐานไว้ที่ว่าการอำเภอวัดเพลงด้านซ้าย เพื่อให้ประชาชนได้เคารพกราบไหว้ เสมือนหนึ่งเป็นหลักเมืองของกิ่งอำเภอวัดเพลง โดยมีนายจรูญ พลับสวาท นายอำเภอวัดเพลง ปี 2526 เป็นผู้ริเริ่มในการก่อสร้างศาล จากความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อหลักหิน คือ การบนบานขอให้ของหายได้คืน ขอให้หายจากอาการเจ็บป่วย และขอให้บันดาลความสำเร็จตามความประสงค์ต่างๆ จนเป็นที่นิยมนับถือกันตลอดมา


ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา
วันที่ 12 – 10 – 52

สวนงูเด็กไทย



สวนงูเด็กไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลท่านัด อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี คุณเฉลียว สุขโชค เจ้าของสวนงูกล่าวว่า สวนงูเด็กไทยเปิดมาได้ประมาณ 27 ปี โดยก่อนที่จะเปิดสวนงู ตนได้ไปแสดงโชว์งูอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น และได้นำความรู้ที่ได้เรียนสั่งสมมา กลับมาเปิดสวนงูที่ประเทศไทย โดยตนจะรับซื้องูต่างๆ จากชาวบ้านที่นำมาขาย โดยเฉพาะถ้าเป็นงูประเภทที่หายากก็จะได้ราคาสูง เพราะสามารถนำไปให้คนดู เป็นความรู้จากสื่อการเรียนการสอน และสามารถนำไปโชว์ได้ สวนงูเด็กไทยได้จัดการแสดงโชว์ทั้งหมดรวม 5 ชุด มีการแสดงจับงูเห่า การแสดงโชว์งูเหลือม การคาบงูปล้องทอง การแสดงงูสปริง และการต่อสู้ของงูเห่ากับพังพอน ภายในบริเวณยังมีงูประเภทต่างๆ ไว้ให้ชมอีกมากมาย มีทั้งแบบไว้ให้ดู และให้สัมผัสกับมันได้ โดยเฉพาะเจ้างูเหลือมเผือกสีเหลืองทอง และเจ้างูเหลือมคู่นี้ ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะให้ความสนใจกันมากเป็นพิเศษ เพราะไม่มีอันตราย และมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด นอกจากงูแล้ว ในสวนงูเด็กไทยยังมี ตัวเงินตัวทอง จระเข้น้ำขนาดใหญ่ ที่ให้นักท่องเที่ยวได้ชม และทึ่งกับขนาดความใหญ่โตของมัน และเมื่อชมการแสดงเสร็จแล้ว ก็ยังมีศูนย์จำหน่ายสินค้าเครื่องหนังต่างๆ มีทั้งหนังงู หนังปลากระเบน หนังจระเข้ หนังวัว ฯลฯ เสื้อผ้า และของที่ระลึกต่างๆ ซึ่งถ้านักท่องเที่ยวที่สนใจอยากจะมาเที่ยวด้วย พักผ่อนด้วย ก็จะมีบ้านสุขโชครีสอร์ท ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ อยู่ติดกับสวนงู ไว้เตรียมรับรองโดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด โดยสวนงูเด็กไทยจะเปิดทำการโชว์ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.30 – 12.30 น. อัตราการเข้าชมเด็กนักเรียนที่มาทัศนศึกษาคนละ 20 บาท นักท่องเที่ยวชาวไทย 50 บาท นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 200 บาท ส่วนประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง เข้ารับชมฟรี ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 032 – 254982 หรือติดต่อได้ที่คุณวันดี เบอร์ 081-8203947 , 081- 4339547

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา
วันที่ 25 – 9 – 52

วัดเกาะศาลพระ



วัดเกาะศาลพระ ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรี ประมาณ 10 เมตร มีเนื้อที่ประมาณ 35 ไร่ ด้านหน้าวัดอยู่ติดกับริมฝั่งขวาแม่น้ำแควอ้อม ด้านหลังอยู่ติดกับโรงเรียนประชาบาล และถนนสายราชบุรี – วัดเพลง
วัดเกาะศาลพระ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอสันนิษฐานได้จากศิลปะลวดลายที่ซุ้มประตู และหน้าบันอุโบสถหลังเก่าว่า สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หรือต้นรัตนโกสินทร์ เดิมเคยมีเสาหงส์อยู่ 2 ต้น ตั้งอยู่ใกล้ศาลาการเปรียญอุโบสถหลังเดิม มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 4.80 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง พร้อมด้วยพระโมคคัลลา กับ พระสารีบุตร ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ มีเจดีย์องค์ใหญ่ 1 องค์ อยู่ทางทิศตะวันออกของวัด บริเวณรอบอุโบสถหลังเก่า มีต้นอิน จัน 8 ต้น อายุไม่ต่ำกว่า 200 ปี
ในปี พ.ศ. 2514 ประชาชนในท้องถิ่น และตำบลใกล้เคียงได้พร้อมใจกันก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2518 โดยได้กราบทูลอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 18 ของวัดราชบพิธสถิตมหาศรีมาราม อัญเชิญพระพุทธชินราชองค์จำลองขนาดหน้าตัก 4 ศอก 1 นิ้ว ขึ้นเป็นพระประธานในอุโบสถหลังใหม่ ต่อมาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2522 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฏราชกุมาร ทรงมาประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถ และทรงอัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ม.ว.ก. ขึ้นประดิษฐานไว้หน้าอุโบสถหลังใหม่ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จมาประกอบพิธีตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถ แล้วจึงประกอบพิธีผูกพันธสีมา ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2526

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา
วันที่ 16-10-52

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วัดหลวง



วัดหลวง เป็นวัดโบราณ สร้างในราวสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง และ พ.ศ. ที่สร้าง ไม่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรอื่น นอกจากอักขระขอมมอญ ที่จารึกไว้บนแผ่นเสมาด้านหน้าอุโบสถทั้งในอดีต และปัจจุบัน เป็นสถานที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ โดยเฉพาะ ต้นอินทร์ – จันทน์ ที่ใหญ่ที่สุดจำนวน 2 ต้น ปลูกขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 22 – 23 เก่าแก่นับร้อยปี คาดว่าปลูกตอนสร้างอุโบสถครั้งแรก ปลูกไว้คู่กัน ต้นหนึ่งปลูกอยู่ด้านทิศเหนือของอุโบสถ มีขนาด 12.36 เมตร อีกต้นหนึ่งปลูกอยู่ด้านทิศใต้ของอุโบสถมีขนาด 10.50 เมตร และยังมีต้นไม้ใหญ่หลายประเภท เช่น ตะเคียนทอง ยางประดู่ สัก กรรริกา ต้นอินทร์ – จันทร์ เป็นต้น อุโบสถของวัด ไม่ปรากฏปีที่สร้าง เป็นศิลปะสมัยอยุธยาเรียก “โบสถ์มหาอุต” โดยรอบเสา และผนังอุโบสถก่อด้วยอิฐแดงถือปูน มีระเบียงโดยรอบ ใบเสมารอบอุโบสถ เป็นใบเสมาคู่ทำด้วยหินทรายสีแดง ด้านนอกรายรอบด้วยกำแพงแก้ว ก่อด้วยอิฐแดงก้อนโตขนาด 14 คูณ 29 คูณ 6 เซนติเมตร ภายในกำแพงแก้วโดยรอบจะมีเจดีย์ศิลปะอยุธยาทรงระฆังคว่ำ อุโบสถเดิมมีภาพจิตรกรรมสวยงามมาก แต่ในปี 2468 ได้รับการบูรณะปฎิสังขรณ์ใหม่ เจาะประตูด้านหลัง และหน้าต่างโดยรอบ กะเทาะผิวปูนทั้งหมดออก แล้วฉาบปูนใหม่ ทำให้ภาพจิตรกรรมสูญหายไปในครั้งนั้น

ถ่ายภาพ : ภัทรพงศ์
ตัดต่อ / บทโทรทัศน์ : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา
วันที่ 5 – 10 – 52

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก


ตลาดน้ำดำเนินสะดวก อยู่ติดกับถนนสุขาภิบาล 1 มีอาณาบริเวณตลอดคลองต้นเข็ม ปากคลองด้านที่บรรจบกับคลองเฮียกุ่ย จะมีร้านขายของที่ระลึกตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้ที่ไปชมตลาดน้ำสามารถเดินชมไปตามแนวคอนกรีตข้างลำคลองได้จนตลอดถึงปากคลองอีกด้านหนึ่งที่บรรจบกับคลองดำเนินสะดวก


ตลาดน้ำ เป็นวัฒนธรรมของชาวบ้านที่ค้าขายกันทางน้ำ โดยใช้เรือพายเล็กๆ เป็นพาหนะติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าตั้งแต่เช้ามืดจนใกล้เที่ยงวัน ช่วงที่ตลาดน้ำคึกคัก อยู่ในระหว่างเวลา 07.00 – 12.00 น. ตลาดน้ำแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพราะได้ซ่อนเร้นไว้ด้วยความสวยงาม และเสน่ห์แก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันตลาดน้ำแห่งนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ทางด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย เมื่อชมตลาดน้ำแห่งนี้แล้ว สามารถนั่งเรือชมทิวทัศน์ และวิถีชีวิตของชาวบ้านริมคลองต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง



ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา
วันที่ 2 – 10 – 52

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

พระพุทธสายสมโภชน์


พระพุทธสายสมโภชน์ เป็นพระพุทธปฎิมากรรม ที่จำลองมาจากพระพุทธ ปฎิมาในระเบียงคตวัดมหาธาตุวรวิหาร ขนาดเท่าองค์จริง พร้อมทั้งพระโมคคัลลา และ พระสารีบุตร ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย พื้นโบสถ์ปูพื้นอย่างโบราณ คือสีดำสลับขาว พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์สมัยอยุธยาให้มีพระพุทธรูป 9 องค์ พระประธาน 1 องค์ พระบริวารอีก 8 องค์ ในปัจจุบันพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในโบสถ์มี 3 องค์ บริเวณรอบๆโบสถ์ เรียกว่า ลานประทักษิณ ที่เลียนแบบมาจากสมัยรัตนโกสินทร์


ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา
วันที่ 30 – 09 -52

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

วัดบ้านกล้วย


วัดบ้านกล้วย ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ตั้งอยู่ติดกับริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง สร้างวัดในสมัยตอนปลายอยุธยา พ.ศ. ใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ความเป็นมาของวัดบ้านกล้วย และท้องถิ่นวัด เป็นที่ตั้งของโรงเรียนประชาบาล แห่งแรกของตำบลโคกหม้อ ตำบลท่าราบ ตำบลหนองกลางนา วัดบ้านกล้วยแห่งนี้เป็นวัดอรัญวาสี (วัดชนบท) ซึ่งอยู่ใกล้เมือง ได้แก่ วัดโคกหม้อ วัดอรัญญิก วัดเจดีย์หัก มีวัดที่เป็นศูนย์กลาง คือวัดมหาธาตุวรวิหาร ประชาชนสองฝั่งแม่น้ำแม่กลองตอนใต้ และตอนเหนือขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นชาวมอญ เดิมมีอาชีพทำนา และค้าขาย (ทางน้ำ) ได้แก่ กลองมอญอยู่ใต้วัด ทางเสด็จอยู่ใกล้บ้านอดีตผู้ใหญ่หนุ่ม ต่อมามีชาวจีนมาอยู่สันนิษฐานว่ามาจากซัวเถา เป็นลูกหลานจีนมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนนาถสารีโภชน์ เป็นนายบ้าน คือผู้ใหญ่บ้าน ที่สืบเชื้อสายมาจาก ขุนนาถสารีโภชน์ คือ ตระกูลโภชน์พันธ์ศรีโยธิน เป็นต้น

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา
วันที่ 18 - 9 - 52

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

วังมัจฉา


วังมัจฉา อยู่ในบริเวณพื้นที่วัดท่าโขลง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้ประชาชนได้มาพักผ่อน และทำบุญ โดยภายในบริเวณวัด จะมีแพรไม้ศาลาที่ใช้สำหรับให้อาหารปลา ตั้งอยู่บริเวณริมเขื่อนแม่น้ำแม่กลอง และทุกวัน จะมีพระภิกษุ และสามเณร นำอาหารปลามาตั้งวางให้ประชาชนนำไปเลี้ยงตามจิตศรัทธา ซึ่งจากคำบอกเล่าของพระครูภัทรกิจ วิหารคุณ เจ้าอาวาสวัดท่าโขลง กล่าวว่า ปลาที่มาอยู่แถวบริเวณริมน้ำวัดนี้ และสัตว์ต่างๆ ถือว่าสัตว์เหล่านี้ได้อยู่ในเขตอภัยทาน คือ ห้ามจับ และนำไปรับประทานโดยเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นสัตว์เลี้ยงของวัด และทุกวันจะมีประชาชนในพื้นที่บริเวณ และนอกจังหวัด เดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยปลาส่วนใหญ่ที่พบ และชอบขึ้นมากินอาหารของชาวบ้าน คือ ปลาตะเพียนแดง ตะเพียนขาว ตะเพียนทอง ปลาแรด ปลากราย ปลาจาระเม็ดน้ำจืด และปลายี่สก โดยปลาเหล่านี้เมื่อเห็นคนนำอาหารมาให้ก็จะขึ้นมากินใกล้ๆ ให้เห็นอย่างไม่เกรงกลัว เพราะมันคงรู้ว่า ผู้ที่มาให้อาหารกับมัน คงจะไม่มีอันตราย จึงทำให้ปลาเหล่านี้อาศัยอยู่ตามบริเวณนี้จำนวนมาก จึงได้มีการเรียกติดปากว่า “วังมัจฉา” นอกจากวังมัจฉาที่ให้อาหารปลาแล้ว ในบริเวณวัดยังมีนกแก้ว นกเขา และวัวที่ชาวบ้านไถ่ซื้อชีวิตมา เพื่อไม่ให้ถูกฆ่า โดยจะนำมาฝากเลี้ยงไว้ที่วัด เพื่อไม่ให้ใครนำมันไปทำร้ายได้อีก


ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา
วันที่ 11 – 9 – 52

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

ถ้ำจีน – ถ้ำจาม


ถ้ำจีน ตั้งอยู่บนไหล่เขาสูงจากพื้นดิน 60 เมตร มีภาพพระพุทธรูปปูนปั้นประดับบนผนังสององค์ องค์ที่อยู่ด้านใดเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา องค์ด้านนอกเหลือเพียงครึ่งองค์ สันนิษฐานว่าแต่เดิมสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ต่อมาได้ถูกดัดแปลงโดยเอาปูนพอกไว้เป็นศิลปะแบบอยุธยา
ถ้ำจาม ตั้งอยู่ทางตะวันตกของถ้ำจีนสูงขึ้นไป มีภาพสลักบนผนังทุกด้านโดยเฉพาะผนังด้านทิศเหนือสลักภาพ ตอน มหาปฏิหาริย์ หรือ ยมกปาฏิหาริย์ ที่เมือง สาวัตถี ประกอบด้วยพระพุทธรูปแสดงปางต่างๆ โดยเฉพาะพระพุทธรูปปางสมาธิ และปางแสดงธรรมท่ามกลางต้นมะม่วงมีผล นับเป็นที่นิยมทำกันในสมัยทวารวดี ดังปรากฏในภาพสลักหิน และพระพิมพ์ การสร้างภาพ ตอน มหาปฏิหาริย์นี้ได้รับอิทธิพลมาจาก เรื่องพุทธประวัติในอรรถกถาภาษาบาลี ลัทธิหินยาน ผนังด้านใต้ และตะวันออก เป็นรูปบุคคลปูนปั้นขี่คอซ้อนกันขึ้นไป ผนังด้านตะวันตก เป็นภาพพระพุทธรูปปางไสยาสน์ เหนือพระพุทธเป็นลวดลายปูนปั้นรูปต้นไม้ สันนิษฐานว่า เป็นต้นสาละ อาจหมายถึง เรื่องราวขณะเสด็จสู่มหาปรินิพพาน จึงนับว่าเป็นภาพพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่เก่าที่สุด เท่าที่ค้นพบในประเทศไทย

ถ่ายภาพ / เขียนบท / ตัดต่อ : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา
วันที่ 4 – 9 – 52

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

รอยพระพุทธบาท


รอยพระพุทธบาท วิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาท (ทำด้วยศิลาแลง) ตั้งอยู่บนยอดเขางู สูงประมาณ 128 เมตร ลักษณะเป็นซากของอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐถือปูน ปัจจุบันมีการก่อสร้างศาลาโล่ง หลังคาเครื่องไม้มุมกระเบื้องขึ้นคร่อมทับ ภายในประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง จำนวน 1 องค์ พระพุทธรูปหินทรายแดงประทับนั่งแสดงปางประทานอภัย และปางมารวิชัย จำนวน 5 องค์ และชิ้นส่วนของพระพุทธรูปหินทรายแดงอีกจำนวนหนึ่ง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ( พุทธศตวรรษที่ 21 – 22 ) รอยพระพุทธบาทสร้างขึ้นเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐาน

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา
วันที่ 28 – 8 – 52

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ถ้ำฝาโถ


ถ้ำฝาโถ ตั้งอยู่ห่างจากถ้ำฤาษีเขางูไปทางตะวันตกราว 250 เมตร มีภาพสลักบนผนังทิศใต้ที่สำคัญได้แก่ ภาพพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ มีประภามญฑลหลังพระเศียรเหนือขึ้นไป เป็นภาพเทพชุมนุม และภาพปูนปั้นรูปต้นไม้ ด้านทิศเหนือเป็นภาพสลักพระสาวกสององค์ องค์ประกอบคล้ายที่ถ้ำจาม คือเป็นภาพพุทธประวัติ ตอน ปรินิพพาน ลักษณะการสร้างภาพที่ถ้ำฝาโถ คือ พระพุทธรูปหันพระเศียรไปทางปากน้ำ องค์พระพุทธรูปและส่วนประกอบอยู่ด้านซ้ายเทพชุมนุมอยู่เหนือพระพุทธรูปนั้นใกล้เคียงกับภาพสลักในถ้ำอซันตา ของประเทศอินเดีย ซึ่งสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 12


ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา
วันที่ 21 – 8 - 52

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระสีวลี


พระสีวลี เป็นโอรสของพระนางสุปปวาสา ราชธิดาแห่งพระเจ้าโกลียะ มีตำนานเล่าว่า จำเดิมแต่พระโอรสถือปฏิสนธิ ในครรภ์พระมารดา ทำให้พระมารดาเกิดลาภ สักการะเป็นอันมาก ตั้งครรภ์อยู่นานถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน จึงประสูติ และขนานพระนามว่า สีวลี พระมารดาได้ทูลนิมนต์ พระบรมศาสดา เพื่อรับภัตตาหารในบ้านตลอด 7 วัน เมื่อพระสีวลี เจริญวัยแล้วได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ออกบวชในสำนักพระสารีบุตร ไม่นานนักได้บรรลุพระอรหัตตผล ในเวลาขณะปลงผมครั้งแรกได้บรรลุโสดาบัน จดครั้งที่ 2 บรรลุสกิทาคามิผล ครั้งที่ 3 บรรลุอนาคามิผล และเมื่อสำเร็จในการโกนผมหมด ท่านก็บรรลุพระอรหัตตผล
นับแต่วันนั้นมา พระสีวลี เจริญด้วยลาภ สักการะมากกว่าภิกษุทั้งหลาย พระบรมศาสดา จึงทรงยกย่องว่า เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย


ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา
วันที่ 14 - 8 - 52

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หลวงพ่ออมรินทราเมศร์


หลวงพ่ออมรินทราเมศร์ พระประธานในวิหาร เป็นพระประธานคู่ ปางสะดุ้งมาร หันหลังให้กัน องค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ อีกองค์หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ ประจำวัดอมรินทราราม (วัดตาล) มีอายุ 191 ปี ผู้คนนิยมมากราบไหว้บูชา เพื่อขอพร หลวงพ่ออมรินทราเมศร์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 พุทธศักราช 2363 เมื่อเริ่มก่อสร้างวัดได้สร้างวิหารหลังนี้ขึ้นก่อน และใช้วิหารหลังนี้ทำสังฆกรรมแทนอุโบสถ เมื่อสร้างโบสถ์ (อุโบสถ) เสร็จแล้ว จึงใช้เป็นวิหารดังเดิม


ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา
วันที่ 7 – 8 – 52

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วัดอมรินทราราม ( วัดตาล )


วัดอมรินทราราม ( วัดตาล ) ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลโคกหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สร้างมาแต่ครั้งใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่นอน ทราบจากผู้สูงอายุว่าวัดนี้ สร้างก่อนที่เมืองราชบุรีจะย้ายจากฝั่งวัดมหาธาตุวรวิหาร มาอยู่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำแม่กลอง คือกรมการทหารช่างในปัจจุบัน แต่พอจะประมาณได้ว่า เริ่มสร้างวัดนี้ราวปีกุล พุทธศักราช 2534 ก่อนสร้างเมืองราชบุรีใหม่เล็กน้อย โดยเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสงวงศาโรจน์) ต้นตระกูลวงศาโรจน์ สมุหพระกลาโหม ในสมัยนั้นเป็นผู้สร้าง โดยท่านเจ้าพระยาผู้นี้ เป็นผู้ว่าราชการเมืองราชบุรี คนที่ 2 ยังมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยา อมรินทรฤาชัย ในสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 2 เมื่อสร้างแล้วคงให้ชื่อว่า วัดตาล เพราะที่วัดนี้เป็นที่ค้าขายน้ำตาล
ตามจดหมายเหตุของครูวินัยธรรม (อินท์) เขียนตามคำขอพระสมุทรมุนีว่า เดิมวัดนี้เป็นป่ารก ท่านจึงให้อุปัฏฐากแผ้วถางทำความสะอาด และเอาชื่อพระยาอมรินทรฤาชัย ต่อเป็นชื่อวัดว่า วัดตาลอมรินทร์ แต่ชาวบ้านยังคงเรียก วัดตาล ต่อมาคำว่า ตาล หายไป จึงใช้ชื่อว่า “วัดอมรินทราราม” ซึ่งเป็นวัดแรกของคณะธรรมยุต จังหวัดราชบุรี


ภาพ : เสียง คมปิยะ / กาญจนา
วันที่ 31 - 7 – 52

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พระวิหาร


พระวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แต่เดิมพระวิหารหลังนี้เป็นโบสถ์หลังแรกของวัดเทพอาวาส ซึ่งเป็นวัดที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 200 ปีมาก่อนที่พระยาเทพอรชุน จะมาสร้าง เดิมมิใช่เรียกว่าวัดเทพอาวาส ชาวบ้านมักเรียกกันหลายชื่อ เช่นวัดดงขี้เหล็ก วัดนทีใต้ วัดบ้านไร่ โดยได้สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างพระวิหารนี้ขึ้นในต้นรัชกาลที่ 4 เพราะมีหลักฐาน คือ เสาพระวิหารที่เป็นไม้แดง ที่ผู้สร้างคัดเอาแต่แก่นล้วนๆ ซึ่งเสาไม้จะมีการเขียนลายไทยไว้ที่ปลายเสาบ้าง และบางทีก็เขียนตลอดลำต้น โดยเสาพระวิหารเป็นไม้แดงที่มีอายุกว่า 200 ปี เป็นไม้ที่มีแก่นทนทาน คนโบราณนิยมใช้ทำเครื่องเรือน เพราะปลวกไม่กิน และไม่ผุง่าย

ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 22 - 6 - 52

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วัดเทพอาวาส


วัดเทพอาวาส ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่เฉพาะที่ตั้งวัดประมาณ 20 ไร่เศษ ในอดีตวัดเทพอาวาสมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน เช่นวัดดงขี้เหล็ก วัดบ้านไร่ วัดนทีใต้ สำหรับผู้ที่สร้างวัดเทพอาวาสเป็นท่านแรกนั้นทางวัดไม่สามารถที่จะสืบค้นข้อมูลได้ รู้แต่เพียงหลักฐานตามทะเบียนวัดที่แจ้งว่า วัดเทพอาวาสขออนุญาตตั้งวัดในปี พ.ศ. 2420 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 แต่เมื่อดูจากหลักฐานต่างๆ ที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น พระวิหาร อุโบสถหลังเก่า ทำให้ทราบว่าวัดเทพอาวาส น่าจะสร้างมาก่อนนั้น เพราะศิลปกรรมสถาปัตยกรรมต่างๆ เป็นแบบสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ไม่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่สามารถใช้ยืนยันได้



ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 19 - 6 - 52

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วิหารพระพุทธชัยมงคล


วิหารพระพุทธชัยมงคล ตั้งอยู่ที่วัดท้ายเมือง ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี วิหารพระพุทธชัยมงคล เป็นวิหารเก่า เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์ คือ พระพุทธชัยมงคล เป็นพระพุทธรูปศิลาแลง ปางมารวิชัย มีอายุ 400 กว่าปี นอกจากนี้ภายในวิหารยังมีพระพุทธรูปอีกหลายองค์ คือ หลวงพ่อดำ หลวงพ่อรัตนะ และหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ซึ่งเดิมเข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น แต่เมื่อคราวที่ถูกมิจฉาชีพขโมย เกิดหล่นทำให้เอาไปไม่ได้ ปูนที่ฉาบองค์พระไว้จึงกะเทาะออก ทำให้เห็นเป็นเนื้อสัมฤทธิ์

ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 17 - 6- 52

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วัดท้ายเมือง


วัดท้ายเมือง ตั้งอยู่ที่ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2423 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2481 วัดท้ายเมือง มีเนื้อที่ตั้งวัดทั้งหมด 21 ไร่ 2 งาน 3 วา ที่มาของชื่อวัดสันนิษฐานว่า ในอดีตมีการย้ายเมืองราชบุรีจากตำบลคูบัว มาอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง และมีการสร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่ เมื่อปีพุทธศักราช 2463 โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่งฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำแม่กลองทิศที่ศาลหลักเมืองหันไปนั้น เมื่อมองไปจะเห็นสะพานรถไฟ และเห็นวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดมหาธาตุวรวิหารในปัจจุบัน จึงทำให้ที่ตั้งของวัดอยู่ในทิศตะวันตก คือด้านหลังศาลหลักเมือง ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดว่า “วัดท้ายเมือง” และเปรียบวัดพระศรีรัตนมหาธาตุว่า เป็นวัดหน้าเมือง


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 15 - 6 - 52

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วัดเกาะนัมมทาปทวลัญชาราม


วัดเกาะนัมมทาปทวลัญชาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี การเกิดเกาะกลางแม่น้ำ เกิดจากขี้ระบบทับถมกันมานานจนกลายเป็นเกาะกลางแม่น้ำ จนกระทั่งมีพวกมอญอพยพจากพม่ามาอาศัยอยู่ที่โพธาราม มาสร้างเป็นเจดีย์น้อยๆ เป็นที่เคารพ ต่อมาพระแสนท้องฟ้า ได้มายึดครองเป็นที่ทำสวน และเพาะปลูกต้นไม้ผลขึ้น ท่านอาจารย์กลับ ท่านได้เคยรับราชการในวังมาก่อน ครั้งท่านเกษียนแล้วก็กลับมาอยู่บ้านเดิม คือบ้านไร่ท้ายเกาะ และได้อุปสมบทเป็นพระที่วัดท้ายเมือง ท่านขอซื้อเกาะจากพระแสนท้องฟ้า พระแสนท้องฟ้าท่านได้ถวายให้ท่านอาจารย์กลับ ท่านย้ายจากวัดท้ายเมือง มาสร้างวัดขึ้นได้นามว่า “วัดเกาะนัมมทาปทวลัญชาราม” นามวัดนั้น คนเก่าๆ เขาบอกว่าคนในวัดซึ่งเป็นคนรู้จักกับท่านได้ตั้งใจ ท่านอาจารย์กลับท่านได้ดำเนินการสร้างเรื่อยๆ มาเมื่อ พ.ศ. 2425 ก็สร้างกุฎิศาลาและเจดีย์ ที่มอญเขาสร้างไว้มันเล็กจึงทำให้ใหญ่ขึ้นพอสมควร ส่วนเจดีย์เก่า และมณฑป ก็ซ่อมแซมให้ดีขึ้น และสร้างอุโบสถหลังขนาดย่อมๆ เหมาะแก่การทำสังฆกรรม เมื่อ พ.ศ. 2443 โดยทำการปิดทองลูกนิมิต และผูกพัทธเสมา


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 10 - 6 -52

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วัดศรีชมภูราษฎร์ศรัทธาธรรม


วัดศรีชมภูราษฎร์ศรัทธาธรรม หรือที่เรียกว่า วัดศรีชมภู ตั้งอยู่ที่ถนน มนตรีสุริยวงศ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี วัดศรีชมภู สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2423 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2490 ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือจดแม่น้ำ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก จดถนนมนตรีสุริยวงศ์ ศาลาการเปรียญ กว้าง 14 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ในบริเวณวัดมีกุฎิสงฆ์ จำนวน 5 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง และตึกอีก 3 หลัง เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ ศาลาเอนกประสงค์ มีความกว้าง 20 เมตร ยาว 80 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายในอุโบสถของวัด มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระประธานประจำอุโบสถ 1 องค์ พร้อมพระอัครสาวก


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 8 - 6 - 52

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วัดสัตตนารถปริวัตร


วัดสัตตนารถปริวัตร ตั้งอยู่ในบริเวณ ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งวัดร้าง ชื่อ “วัดกลางบ้าน” หรือ “ วัดโพธิ์งาม ” วัดร้างดังกล่าวนี้สร้างโดย ชุมชนไทยยวนที่อพยพมาจากเมืองเชียงแสน จ. เชียงราย รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
ต่อมาในสมัยพระปรมินทร์มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชประสงค์ ให้สร้างพระราชวังที่ภูเขาสัตตนารถ ทรงให้พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) จัดทำผาติกรรม ไถ่ถอนที่ดินวัดเขาสัตตนารถให้พ้นจากที่ธรณีสงฆ์ แล้วให้ย้ายวัดสัตตนารถ และก่อสร้างปรับปรุงวัดกลางบ้าน หรือวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นวัดร้างริมแม่น้ำแม่กลองขึ้นใหม่ขนานนามวัดใหม่นี้ว่า “วัดสัตตนารถปริวัตร” แปลว่าวัดที่ย้ายเปลี่ยนไปจากวัดเขาสัตตนารถ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปณาวัดสัตตนารถปริวัตร ให้เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ระดับวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และโปรดเกล้าฯ ให้พระครูสีลคุณธราจารย์ (พระมหานิล) จากวัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดสัตตนารถปริวัตร รูปแรกในปี พ.ศ. 2414 และพัฒนาการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ถ่ายภาพ อ้อยกานต์ / คมปิยะ
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 3 - 6 - 52

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วัดคูบัว


วัดคูบัว เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี อยู่ในเขตเมืองโบราณ สมัยทวารวดี ศตวรรษที่ 11 – 16 ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง มีแต่คำบอกเล่าว่า มีการย้ายวัดมาแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกได้สร้างวัดที่บริเวณสถานีรถไฟบ้านคูบัว หลังจากนั้นได้ย้ายมาริมห้วยคูบัว นานพอสมควร ภายหลังเห็นว่าที่ตั้งวัดไม่เหมาะสม เนื่องจากติดกับลำห้วย มีเสียงรบกวนการสัญจรทางเรือเป็นอย่างมาก จึงเห็นว่าที่ดินที่ตั้งวัดอยู่ในปัจจุบันมีความเหมาะสม จึงได้ย้ายวัดมาสร้างจนถึงปัจจุบัน
ภายในวัดมีพระอุโบสถ ที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2536 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 30 เมตร ยาว 60 เมตร พระพุทธรูปที่สำคัญของวัด คือ หลวงพ่อแดง - หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปที่ทำด้วยศิลาแลง ปางสดุ้งมาร เป็นที่เคารพของชาวบ้าน โดยชาวบ้านที่มาขอพร ก็จะสมความปรารถนา และในช่วงปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายน ทางวัดจะจัดงานประจำปี ให้ชาวบ้านได้สักการะบูชา และแก้บ่นตามที่ได้ขอพรกันไว้




ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์

ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 1 - 6 - 52

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ


พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ เป็นพระพุทธรูปปางตรั้สรู้ ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว โลหะที่ใช้หล่อประกอบด้วย ทองเหลือง 2 ส่วน ทองแดง 1 ส่วน ทองขาว 1 ส่วน พระพุทธรูปนี้มีเพียง 4 องค์ทั่วประเทศ ที่กรมการรักษาดินแดนสร้างขึ้น โดยพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อด้วยพระองค์เอง ณ กรมการรักษาดินแดน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2511 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 เมื่อการหล่อสำเร็จแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดยพระผู้ทรงคุณวุฒิ พระองค์ได้ทรงพระราชทานนามพระพุทธรูปทั้ง 4 ว่า พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ และได้พระราชทานประดิษฐานไว้ประจำทิศทั้ง 4
ในวันที่ 27 ธันวาคม 2511 ขบวนของหน่วยราชการ พ่อค้า ประชาชน ประมาณ 16 ขบวน ซึ่งรอรับอยู่ที่จังหวัดนครปฐม ก็เคลื่อนขบวนพร้อมกันถึงยังจังหวัดราชบุรี นำไปประดิษฐานชั่วคราวอยู่ หน้าศาลจังหวัดราชบุรี ประกอบพิธีต้อนรับ และสมโภช เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เมื่อจังหวัดได้สร้างศาลาจัตุรมุข และทางขึ้นเขาเสร็จแล้ว ได้อันเชิญไปประดิษฐาน เป็นที่สักการะขอพรของพุทธศาสนิกชนทั่วไป


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์

ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 29 - 5 - 52


วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พระสังกัจจายน์


พระสังกัจจายน์ ตั้งอยู่ที่วัดหนองหอย ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ในพุทธประวัติพระสังกัจจายน์เป็นพระเถระ ที่ประกอบด้วยปัญญาเป็นเลิศ ในการแสดงธรรมที่ย่อ และพิสดาร โดยมีความเชื่อว่า การบูชาพระสังกัจจายน์นั้น เป็นการบูชาเพื่อให้เกิดสติปัญญา ในทางที่เป็นสัมมาทิฐิ และเป็นมหาลาภให้ร่ำรวย ด้วยทรัพย์สินเงินทอง ร่ำรวยความสุข





ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 27 - 5 - 52

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

โคกนายใหญ่


โคกนายใหญ่ ตั้งอยู่ที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีลักษณะเป็นฐานเจดีย์ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างยาวด้านละ 10.30 เมตร สูง 3.15 เมตร ฐานชั้นล่างเป็นฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยม ฐานชั้นที่สองเป็นฐานขององค์เจดีย์ ลักษณะเป็นฐานบัวโค้งถัดขึ้นไปเป็นช่องซุ้มรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซ้อนกันเป็นสองชั้นไม่ปรากฏร่องรอย การประดับปูนปั้นภายในซุ้ม ส่วนยอดของเจดีย์ชำรุดมาก ไม่สามารถบอกรูปทรงได้แน่นอน


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 25 - 5 - 52

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พระโพธิสัตว์กวนอิมยืนประทานพร




พระโพธิสัตว์กวนอิมยืนประทานพร ตั้งอยู่ที่วัดหนองหอย ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สร้างขึ้นโดยพระพิศิษฎ์ พัฒนพิธาน (ดาวเรือง อาจารคุโณ) เจ้าอาวาสวัดหนองหอยรูปปัจจุบัน ร่วมกับญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา ทำการเททองหล่อองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมปางยืนประทานพร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 หัตย์ซ้ายทรงแจกันมณี อันบรรจุน้ำทิพย์แห่งความกรุณา ในหัตย์ขวาทรงกิ่งสน สูงประมาณ 3.59 เมตร มีน้ำหนักประมาณ 2 ตัน ยืนประทับบนดอกบัว อันเชิญประดิษฐานในวิหาร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 22 - 5 - 52

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

โบราณสถานวัดคูบัว


โบราณสถานวัดคูบัว ตั้งอยู่ที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ตรงข้ามกับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี โบราณสถานวัดคูบัวเดิมเป็นสถานร้าง กรมศิลปากรขุดแต่งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2504 จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้เป็นโบราณสถานในสมัยทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 – 15 ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ประกอบด้วยฐานชั้นที่หนึ่ง ชั้นล่างเป็นฐานก่ออิฐรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างประมาณ 20.00 เมตร ยาวประมาณ 20.00 เมตร ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ ไม่สอปูน รองรับฐานบัวครึ่งวงกลม ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดาน เจาะเป็นช่องขนาเท่าๆกันโดยรอบ ส่วนบนเป็นฐานเรียงรองรับฐานชั้นที่สอง พบร่องรอยของการฉาบปูนในบางส่วน ฐานชั้นที่สอง เป็นฐานสี่เหลี่ยมหยัก ที่มุมทั้งสี่ทำเป็นรูปฐานสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก และในแนวกึ่งกลางทั้งสี่ด้าน ทำเป็นย่อเก็จแทรกระหว่างฐานสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ส่วนฐานชั้นบนไม่ปรากฏรูปแบบที่แน่ชัด

ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 20 - 5 - 52

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองราชบุรี


ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองราชบุรี ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านพักทหารช่างราชบุรี ค่ายภาณุรังสี ห่างจากตัวเมืองประมาณ 600 เมตร ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมืองราชบุรี
ซึ่งนับแต่โบราณกาล เมื่อใดที่มีการสร้างเมืองใหม่ ก็จะมีศาลหลักเมืองเป็นที่สักการะของชาวเมืองนั้น ศาลหลักเมืองสร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยมีหลักฐานในสมุดราชบุรี พุทธศักราช 2468 กล่าวไว้ว่า ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองเดิมที่เคยตั้งอยู่ฝั่งตะวันตก ฝั่งขวาลำน้ำแม่กลอง ไปตั้งทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำ คือทางทิศตะวันออก เยื้องกันข้ามจากเมืองเดิม เพื่อให้ปลอดภัยจากการรุกราน และป้องกันข้าศึกได้โดยง่าย



ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์

ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 18 - 5 - 52

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วัดพญาไม้


วัดพญาไม้ ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 2 ตำบลโคกหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ด้านทิศตะวันตกติดกับแม่น้ำแม่กลอง ด้านทิศตะวันออกติดกับถนนชลประทาน วัดพญาไม้ ได้รับการจัดขึ้นทะเบียนให้เป็นวัดในกรมศาสนา เมื่อพุทธศักราช 2423 เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏชัด แต่มีการบอกเล่าว่า เมื่อรัชสมัย รัชกาลที่ 5 มีชาวบ้านท่านหนึ่งไม่ปรากฏนาม ตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศเหนือของวัด ได้เข้าไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กของพระเจ้าแผ่นดิน จึงทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นเจ้าพระยา พระยาท่านนี้รู้สึกทราบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ จึงคิดจะสร้างถาวรวัตถุ เพื่อเป็นการสนองพระเดชพระคุณ และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว จึงได้กลับมาสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง ในภูมิลำเนาเดิมที่ตนเคยอาศัยอยู่ ชาวบ้านจึงพากันเรียกวัดที่สร้างขึ้นใหม่ว่า “วัดพระยาใหม่” กาลเวลาล่วงเลยไปเป็นเวลานาน คำเรียกขานก็เพี้ยนเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย คำว่า วัดพระยาใหม่ ก็เปลี่ยนมาเป็น วัดพญาไม้ และหมู่บ้านในระแวกนั้น ก็พลอยถูกเรียกว่า บ้านพญาไม้ ไปด้วยจนถึงปัจจุบัน



ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 15 - 5 - 52

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สวนรุกขชาติถ้ำจอมพล




สวนรุกขชาติถ้ำจอมพลตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ติดกับมหาวิทยาลัยราชภัฎ หมู่บ้านจอมบึง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรีประมาณ 30 กม. สวนรุกขชาติถ้ำจอมพล ได้เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 เป็นต้นมา โดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ได้มอบให้กรมป่าไม้สงวนเนื้อที่ป่าบริเวณถ้ำจอมพล พรรณไม้ส่วนใหญ่เป็นพรรณไม้ป่าเบญจพรรณที่เป็นหินปูน เช่น ประดู่ มะค่าโมง สัก แดง เป็นต้น ปัจจุบันสวนรุกขชาติถ้ำจอมพล ได้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป


ถ่ายภาพ อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 13 - 5 - 52

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เจดีย์เก่า


เจดีย์เก่า ตั้งอยู่ที่วัดเขาเหลือ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี อยู่ด้านหลังของวิหารแกลบ สันนิษฐานว่าอาจจะสร้างขึ้นในสมัยเดียวกับ วิหารแกลบ ลักษณะเป็น เจดีย์ย่อมุมสิบสองรุ่นเก่าแก่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเจดีย์แบบหนึ่งของสมัยทวารวดีตอนปลาย เจดีย์แบบนี้นิยมสืบต่อมาในอยุธยาตอนต้น และเชื่อว่าคงจะสืบต่อมาจากสมัยอโยธยาอีกต่อหนึ่ง

ถ่ายภาพ คมปิยะ
ตัดต่อ อ้อยกานต์
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 11 - 5 - 52

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

โต๊ะหมู่บูชา


ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดราชบุรี ได้มีการจัดนิทรรศการโต๊ะหมู่บูชา ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี 2552 จากจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 เมื่อพ.ศ. 2391 ครั้งเมื่อมีงานฉลองวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ก็เริ่มมีการจัดโต๊ะหมู่บูชาเป็นครั้งแรก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯให้มีการประกวดจัดโต๊ะหมู่บูชาแบบต่างๆ ในพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถึง 100 โต๊ะ และรูปแบบการจัดดังกล่าวได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการส่งเสริมพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง มีการจัดโต๊ะหมู่บูชาขึ้นเป็นพิเศษในสถานที่ราชการ องค์การ และสโมสรทั่วไป โดยโต๊ะหมู่บูชาที่นิยมจัดมี โต๊ะหมู่ 4 แบบธรรมดา โต๊ะหมู่ 4 แบบโต๊ะซัด โต๊ะหมู่ 5 โต๊ะหมู่ 7 และโต๊ะหมู่ 9


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 8 – 5 - 52

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วิหารย์แกลบ


วิหารย์แกลบ ตั้งอยู่ที่วัดเขาเหลือ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรีวิหารย์แกลบสร้างขึ้นเมื่อสมัยอยุธยา มีอายุประมาณ ๓๐๐ ปีเศษ สร้างด้วยอิฐฉาบปูน ทั้งหลัง ซึ่งเหลือพียง หลังเดียวในภาคกลาง ที่ชื่อว่าวิหารแกลบเพราะ เปรียบเหมือน ม้าแกลบตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง ภายในวิหารย์แกลบมีพระประจำ ๑๔ องค์ มีหลวงพ่อมงคลสรรเพชร (หลวงพ่อเหลือ) เป็นพระประธาน


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 6 – 5 - 52

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เขามอ


เขามอ เป็นโครงการสวนสาธารณเฉลิมพระเกียรติฯ ที่สร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (รัชกาลที่ 9 ) เป็นเนินเขาลูกเล็กๆ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขาวัง เป็นเขาประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับการเสด็จประพาสเมืองราชบุรี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2420 เพื่อประทับ ณ พระราชวังบนเขาสัตนารถ ในการเสด็จฯคราวนั้น “เขามอ” มีตำหนักที่ประทับของพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ สมเด็จกรมพระสุดารัตนราชประยูร (พระองค์เจ้าหญิงละม่อม) ทรงเป็นพระมหัยยิกา (ยาย) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็นผู้เลี้ยงดูพระบรมราชชนนี และพระองค์ท่านมาแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยนายวงศักดิ์ สวัสดิ์พานิชย์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีปี 2550 เป็นผู้ริเริ่มโครงการสวน สาธารณเฉลิมพระเกียรติฯ


ถ่ายภาพ : คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ : คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 4 – 5 - 52

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

วัดบางสองร้อย


วัดบางสองร้อย เป็นวัดร้างมานาน ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านบางสองร้อย ต.หลุมดิน อ.เมือง จ.ราชบุรี จนปี 2535 ทางราชการ และทางคณะสงฆ์ (ธรรมยุต) มีความประสงค์จะยกวัดให้เป็นวัดเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ พระบรมราชินีนาถ ในวาระพระชนมายุครบ 5 รอบ 60 ปี แต่ไม่มีทุนในการจัดสร้าง ที่ได้ชื่อว่าวัดบางสองร้อย เพราะ คลองที่อยู่ข้างวัดเป็นคลองที่ 200 คือนับจากอำเภอโพธารามเป็นต้นมา เมื่อเจ้าประคุณ พระมหาสมณวงศ์ (แท่น)ท่านย้าย วัดบางสองร้อยก็ร้างลง โดยภายในวัดมีศาลเจ้าแม่ เงินยวง รุกขเทวดาที่สิงสถิตย์ อยู่ที่ต้นมะขามใหญ่ภายในวัด ที่คอยปกป้องช่วยเหลือผู้เดือดร้อน จนเป็นที่สักการะกราบไหว้ของชาวบ้านตลอดมา




ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 29 – 4 -52



วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

วัดเขาเหลือ


วัดเขาเหลือ ตั้งอยู่ที่ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี วัดเขาเหลือ เป็นวัดที่ไม่มีที่มาแน่ชัดจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่าคนสมัยก่อนเรียกวัดนี้ว่า วัดของเหลือ เนื่องจาก วัดได้นำสิ่งก่อสร้างต่างๆมาจากวัดใกล้เคียง เช่น วัดมหาธาตุ วัดโรงช้าง เพื่อมาสร้างวัด เมื่อเวลาผ่านไปชาวบ้านจึงเรียกเพี้ยน จาก ของเหลือ เป็น เขาเหลืออีกเหตุผลนึงที่คิดว่า ชื่อ วัดของเหลือก็คือ ภายในวัดไม่มีภูเขาสักลูกปัจจุบันเจ้าอาวาส มีความคิดที่จะสร้างภูเขาลูกนึง เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อวัดเขาเหลือ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดคือ วิหารย์แกลบสร้างเมื่อสมัยอยุธยา อายุประมาณ ๓๐๐ ปีเศษ สร้างด้วยอิฐฉาบปูน ทั้งหลัง ซึ่งเหลือพียง หลังเดียวในภาคกลาง ที่ชื่อว่าวิหารแกลบเพราะ เปรียบเหมือน ม้าแกลบตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง มีพระประจำ ๑๔ องค์ มี หลวงพ่อมงคลสรรเพชร (หลวงพ่อเหลือ) เป็นพระประธาน ส่วนหอระฆัง คาดว่าสร้างในสมัยเดียวกับ วิหารแกลบ และยังมีเจดีย์เก่า ตั้งอยู่หลังวิหารแกลบอาจจะสร้างขึ้นในสมัยเดียวกับวิหารแกลบ เป็น เจดีย์ย่อมุมสิบสอง รุ่นเก่าแก่ ซึ่งเชื่อว่าเป็น เจดีย์แบบหนึ่งของ ทวาราวดีตอนปลาย บางทีเจดีย์แบบนี้นิยม สืบต่อมาในอยุธยาตอนต้น และคงจะสืบต่อมาจากสมัยอโยธยาอีกต่อหนึ่ง
ถ่ายภาพ คมปิยะ
ตัดต่อ อ้อยกานต์
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 27 – 4 -52


วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

วัดสุรชายาราม


วัดสุรชายาราม เดิมชื่อว่า วัดหลุมดิน เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ บริเวณที่ตั้งของวัดสุรชายาราม อยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี ด้านหน้าวัดหันไปทางทิศตะวันออกลงสู่แม่น้ำแม่กลอง ด้านเหนืออยู่ริมคลองหลุมดิน ท่านผู้หญิงอั่ม บุนนาคภริยาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์พิพัฒนาศักดิ์ (วรบุนนาค) ซึ่งดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหมในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้พบวัดหลุมดินอยู่ในสภาพวัดร้าง ชำรุดทรุดโทรมมาก อุโบสถเหลือแต่ฐานอิฐ มีหลังคามุงจากคร่อมอยู่ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตรงหน้าอุโบสถมีเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง 1 องค์ พระปรางค์1 องค์ ชำรุดทรุดโทรมมากเช่นเดียวกัน และมีใบเสมาทำด้วยหินทรายแดง สลักลวดลายอย่างสวยงาม สันนิษฐานว่าเป็นสมัยทวารวดี ปัจจุบันยังเหลืออยู่ 15 ใบ แต่ชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนของพระพุทธรูปศิลาแลงที่ชำรุดแยกออกเป็นชิ้นๆ แต่เศียรของพระพุทธรูปดังกล่าวท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนโท จันทร์) นำไปไว้ที่วัดบวรนิวาส กรุงเทพฯ หลักฐานเรื่องนี้ได้จากคำบอกเล่าของพระคุณท่านเอง ในหนังสือเรื่อง “อัตตปวัตติ” ซึ่งพิมพ์แจกในงานทำบุญอายุครบ 70 ปีของพระคุณท่าน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2469



ถ่ายภาพ คมปิยะ
ตัดต่อ อ้อยกานต์
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 24 – 4 - 52





วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ ยุทธภูมิบ้านนางแก้ว เมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ครั้งสมัยรับราชการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงได้รับมอบให้เป็นแม่ทัพรบกับพม่า และพระองค์เคยได้รับราชการตำแหน่ง "หลวงยกกระบัตร" เมืองราชบุรี ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ด้วยสำนึกในพระ มหากรุณาธิคุณ ชาวราชบุรีจึงได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ไว้ ณ เชิงเขาแก่นจันทร์ ริมถนนเพชรเกษม ปัจจุบันจังหวัดปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 22 – 4 - 52

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552

หลวงปู่เทพประทานพร


หลวงปู่เทพประทานพร พระพุทธรูปปางประทานพรสมาธิเพชร สร้างสมัยทวารวดี แกะจากหินทราย หน้าตักกว้าง 27 นิ้ว สูง 90 เซนติเมตร เป็นพระเก่าแก่ประจำวัดธรรมเจดีย์ หรือวัดท่าโขลงในปัจจุบัน ชาวบ้านและผู้มีจิตศรัทธา เมื่อ ประสบปัญหาเดือดร้อนทุกข์ใจ กับตนเอง และครอบครัวจะมาอธิษฐานขอพรจาก หลวงปู่เทพ ส่วนมากจะสัมฤทธิ์ผล หลุดพ้นจากความทุกข์ สมความปรารถนาทุกราย ชาวบ้านจึงเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงปู่เทพประทานพร”


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 20 – 4 - 52

วัดท่าโขลง


วัดท่าโขลง เป็นวัดที่สร้างมากับเมืองราชพลี ตามหลักฐานที่พระราชกวี (พระมหาอ่ำ) วัดโสมนัสวิหาร ได้ค้นคว้าพบว่ามีการจารึกเป็นภาษาโบราณไว้ที่ แผ่นกระเบื้อง ค้นพบได้ในถ้ำฤาษีเขางู ได้ความว่า ขุนหาญบุญไท ได้สร้างเมืองราชพลีเมื่อ พ.ศ. 1030 แล้วสร้างไว้ประจำเมืองทั้งสี่ทิศ สร้างวัดธรรมเจดีย์ (วัดท่าโขลง) ไว้ทางด้านทิศเหนือ สร้างวัดพุทธเจดีย์ (วัดเจดีย์หัก)ไว้ทางด้านทิศใต้ สร้างวัดมหาธาตุไว้ทางด้านทิศตะวันออก และสร้างวัดอรัญญิก ไว้ทางด้านทิศตะวันตก เมื่อกาลเวลา ได้ล่วงเลยมาเป็นเวลาที่เนิ่นนานมาก วัดธรรมเจดีย์ก็ชำรุดทรุดโทรมลงกลายเป็นวัดร้าง สิ่งก่อสร้างก็มีแต่ซากปรักหักพัง อีกทั้งต้นไม้ก็ขึ้นปกคลุมหนาแน่นไปทั่วบริเวณ ที่รู้ว่าเป็นวัดก็เพราะยังเหลือพระเจดีย์องค์ใหญ่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมไว้ทั่วทั้งองค์
ในกาลต่อมา ตระกูลวงศาโรจน์ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองราชบุรี ท่านพระครู
ขันติยาคม (วงศาโรจน์) ได้ร่วมกับชาวบ้านทำการบูรณะสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ เรียกชื่อว่าวัดท่าโขลง เพราะบริเวณที่หน้าวัดเป็นที่ราบลงสู่แม่น้ำแม่กลอง มีช้างลงมากินน้ำ และเล่นน้ำอยู่เป็นประจำ มากันมากเป็นโขลงใหญ่ๆ จึงเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดช้างโขลง หรือ วัดท่าโขลงมาจนถึงปัจจุบัน


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 17 – 4 - 52


วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

สะดือคูบัว


สะดือคูบัว เป็นหินแกรนิตจารึก ตั้งอยู่ที่วัดโขลงสุวรรณคีรี ตรงข้ามกับจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี โดยนำมาจากเหมืองหิน อำเภอบ้านตาก เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2549 ด้านที่ 1 มีอักษรธรรมล้านนา (อักษรไท-ยวน) กล่าวถึงผู้เขียนคำจารึก อักษรที่ใช้ในพุทธศักราช 2549 กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจารึก และอาณาเขตพื้นที่การปกครองของตำบลคูบัว ด้านที่ 2 กล่าวถึงประชาชนคูบัวมีภูมิปัญญาผลิตสินค้าชุมชน (OTOP) หลากหลายชนิด ร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิ สมาคม ชมรม พิพิธภัณฑ์จิปาถะฯ ความเป็นมาดั้งเดิมของพื้นที่โบราณสถานภายในเมืองโบราณคูบัว ด้านที่ 3 กล่าวถึงความเป็นมาโครตเหง้าไท-ยวน (เจ๊าเฮา) ที่เคลื่อนย้ายจากเมืองเชียงเสียน อาณาจักรล้านนาโบราณมาอยู่ที่คูบัว จังหวัดราชบุรี และด้านที่ 4 กล่าวถึงแผนที่อาณาเขตของตำบลคูบัว แผนที่จังหวัดราชบุรี และแผนที่ประเทศไทย ณ พุทธศักราช 2550 ตลอดจนรายชื่อผู้สนับสนุนบริจาคเงินซื้อหินจารึกก้อนนี้


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ อ้อยกานต์
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 10- 4 - 52

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

ถ้ำจอมพล


ถ้ำจอมพล ตั้งอยู่ที่ตำบลจอมบึง จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากถ้ำเขาบินไป 11 กิโลเมตร ในบริเวณสวนรุกขชาติ ทางเข้าถ้ำจอมพลอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เดิมมีชื่อว่า “ถ้ำมุจลินทร์” เมื่อปี พ.ศ. 2483 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้เสด็จประพาสถ้ำนี้ ทรงพอพระทัยความงามของหินงอกหินย้อย โดยเฉพาะหินย้อยผาวิจิตร ที่เหมือนริ้วไหมอินทรธนูบนบ่าของจอมพล จึงทรงพระราชทานนามถ้ำใหม่ว่า “ถ้ำจอมพล” นอกจากหินงอกหินย้อยที่สวยงามแล้ว ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งมีงานฉลองเป็นประจำทุกปีในหน้าแล้ง


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 8-4-52



วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552

ถ้ำจอมพล


ถ้ำจอมพล ตั้งอยู่ที่ตำบลจอมบึง จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากถ้ำเขาบินไป 11 กิโลเมตร ในบริเวณสวนรุกขชาติ ทางเข้าถ้ำจอมพลอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เดิมมีชื่อว่า “ถ้ำมุจลินทร์” เมื่อปี พ.ศ. 2483 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้เสด็จประพาสถ้ำนี้ ทรงพอพระทัยความงามของหินงอกหินย้อย โดยเฉพาะหินย้อยผาวิจิตร ที่เหมือนริ้วไหมอินทรธนูบนบ่าของจอมพล จึงทรงพระราชทานนามถ้ำใหม่ว่า “ถ้ำจอมพล” นอกจากหินงอกหินย้อยที่สวยงามแล้ว ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งมีงานฉลองเป็นประจำทุกปีในหน้าแล้ง


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 6 – 4- 52

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

วัดเขาวัง


วัดเขาวัง ตั้งอยู่บนเขาสัตตนาถ ซึ่งเป็นภูเขาลูกย่อมๆ สูงประมาณ 44 เมตร อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตร มีทางรถยนต์ขึ้นถึงยอดเขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังบนเขานี้เมื่อ พ.ศ. 2416 เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงรับสั่งให้สร้างนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่เมืองลพบุรี แต่พระองค์ได้เคยเสด็จไปประทับเพียงครั้งเดียวเมื่อ พ.ศ. 2420 เพื่อออกรับราชทูตโปรตุเกส หลังจากนั้นไม่ได้เสด็จไปประทับอีกเลยจนตลอดรัชกาล ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ อุทิศให้เป็นธรณีสงฆ์ ซึ่งมีผู้มีศรัทธาได้ซ่อมแซมบางส่วนดัดแปลงตำหนักต่างๆ เป็นโบสถ์ กุฎิสงฆ์ และต่อมาได้ยกขึ้นเป็นวัด ด้านบนสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ตัวเมืองราชบุรีโดยรอบ

ถ่ายภาพ อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 3 – 4- 52



วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552

วัดช่องลม


วัดช่องลม พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ใกล้บริเวณเมืองเก่า ริมถนนวรเดช ใจกลางเมืองราชบุรี เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ไม่ปรากฎผู้สร้าง เดิมชื่อ วัดช้างล้ม เพราะได้มีช้างลงมากินน้ำ แล้วล้มลงบริเวณที่สร้างวัด ซึ่งเป็นปากคลอง ต่อมาในปี พ. ศ. 2457 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราช ทรงได้เสด็จมาตรวจการคณะสงฆ์เมืองราชบุรี ได้เสด็จทรงเยี่ยมวัดช่องลม ทรงเห็นว่าบริเวณวัดมีลมผ่านสบาย เพราะตั้งอยู่ริมน้ำแม่กลอง จึงได้ทรงเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดช่องลม
วัดช่องลมเป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อแก่นจันทน์" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองราชบุรี เป็นพระพุทธปฏิมา ศิลปะสมัยทวารวดี ในส่วนตั้ง แต่พระเศียรถึงพระอุระ เป็นเนื้อทองสำริด ส่วนองค์พระสร้างด้วยไม้จันทน์หอม มีความสูงตั้งแต่พระเกศมาลาถึงพระบาท 2.26 เมตร เป็นพระพุทธปฏิมาปางอุ้มบาตร หลวงพ่อแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีบารมีธรรมที่สูงส่งยิ่ง ตามปกติมีผู้มากราบไหว้บูชาขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ส่วนใหญ่จะขอให้ช่วยปัดเป่าเหตุร้ายทุกวัน จนเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของ จังหวัดราชบุรี ตลอดมา

ถ่ายภาพ อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 30 – 3 - 52

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552

วัดอรัญญิกาวาส


วัดอรัญญิกาวาส ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ภายในบริเวณวัดมีโบราณสถานทีน่าสนใจ คือ พระนอนองค์ใหญ่อยู่ด้านหลังองค์พระปรางค์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2030 – 2035 ลักษณะเป็นหินทรายแดง สร้างสมัยอยุธยา ยาว 15 วา ทำการบูรณะซ่อมแซม สร้างครอบองค์จริง องค์ที่สร้างใหม่มีความยาว 30 วา ทำการบูรณะโดย ท่านเจ้าพระคุณพระมหาสมณวงค์ (แท่น) ครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2515 โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ และทำการบูรณะเสร็จเป็นที่เรียบร้อย เมื่อ พ.ศ. 2547 ในสมัยของพระครูมงคลเจติยานรักษ์ (พระไฝ นาคาเสโน) ปรางค์ประธานสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2030 – 2035 เป็นเจดีย์ 5 องค์ แบบบัวผันเป็นปรางค์บริวารขนาดเล็กกว่าอยู่สี่ด้าน มีลวดลายปูนปั้นประดับสวยงาม ปัจจุบันเหลือเพียงทางทิศใต้เท่านั้น ลักษณะเป็นหินทราย ผู้สร้างคือ ขุนหาญ บุญไทย ปรางค์ทั้งหมดล้อมรอบด้วยระเบียงคดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทราย พุทธศิลปะแบบอยุธยาประดิษฐานอยู่โดยรอบนอกระเบียงคด นอกจากพระปรางค์แล้ว ในบริเวณวัดยังมีเจดีย์ทรงระฆังกลมอีกสององค์ อยู่ทางดานหน้าของวัด เป็นเจดีย์ศิลปะแบบลังกา ซึ่งเป็นที่นิยมสร้างในศิลปะสุโขทัย และอยุธยา


ถ่ายภาพ อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 27 – 3 - 52