วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

วัดบางสองร้อย


วัดบางสองร้อย เป็นวัดร้างมานาน ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านบางสองร้อย ต.หลุมดิน อ.เมือง จ.ราชบุรี จนปี 2535 ทางราชการ และทางคณะสงฆ์ (ธรรมยุต) มีความประสงค์จะยกวัดให้เป็นวัดเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ พระบรมราชินีนาถ ในวาระพระชนมายุครบ 5 รอบ 60 ปี แต่ไม่มีทุนในการจัดสร้าง ที่ได้ชื่อว่าวัดบางสองร้อย เพราะ คลองที่อยู่ข้างวัดเป็นคลองที่ 200 คือนับจากอำเภอโพธารามเป็นต้นมา เมื่อเจ้าประคุณ พระมหาสมณวงศ์ (แท่น)ท่านย้าย วัดบางสองร้อยก็ร้างลง โดยภายในวัดมีศาลเจ้าแม่ เงินยวง รุกขเทวดาที่สิงสถิตย์ อยู่ที่ต้นมะขามใหญ่ภายในวัด ที่คอยปกป้องช่วยเหลือผู้เดือดร้อน จนเป็นที่สักการะกราบไหว้ของชาวบ้านตลอดมา




ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 29 – 4 -52



วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

วัดเขาเหลือ


วัดเขาเหลือ ตั้งอยู่ที่ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี วัดเขาเหลือ เป็นวัดที่ไม่มีที่มาแน่ชัดจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่าคนสมัยก่อนเรียกวัดนี้ว่า วัดของเหลือ เนื่องจาก วัดได้นำสิ่งก่อสร้างต่างๆมาจากวัดใกล้เคียง เช่น วัดมหาธาตุ วัดโรงช้าง เพื่อมาสร้างวัด เมื่อเวลาผ่านไปชาวบ้านจึงเรียกเพี้ยน จาก ของเหลือ เป็น เขาเหลืออีกเหตุผลนึงที่คิดว่า ชื่อ วัดของเหลือก็คือ ภายในวัดไม่มีภูเขาสักลูกปัจจุบันเจ้าอาวาส มีความคิดที่จะสร้างภูเขาลูกนึง เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อวัดเขาเหลือ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดคือ วิหารย์แกลบสร้างเมื่อสมัยอยุธยา อายุประมาณ ๓๐๐ ปีเศษ สร้างด้วยอิฐฉาบปูน ทั้งหลัง ซึ่งเหลือพียง หลังเดียวในภาคกลาง ที่ชื่อว่าวิหารแกลบเพราะ เปรียบเหมือน ม้าแกลบตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง มีพระประจำ ๑๔ องค์ มี หลวงพ่อมงคลสรรเพชร (หลวงพ่อเหลือ) เป็นพระประธาน ส่วนหอระฆัง คาดว่าสร้างในสมัยเดียวกับ วิหารแกลบ และยังมีเจดีย์เก่า ตั้งอยู่หลังวิหารแกลบอาจจะสร้างขึ้นในสมัยเดียวกับวิหารแกลบ เป็น เจดีย์ย่อมุมสิบสอง รุ่นเก่าแก่ ซึ่งเชื่อว่าเป็น เจดีย์แบบหนึ่งของ ทวาราวดีตอนปลาย บางทีเจดีย์แบบนี้นิยม สืบต่อมาในอยุธยาตอนต้น และคงจะสืบต่อมาจากสมัยอโยธยาอีกต่อหนึ่ง
ถ่ายภาพ คมปิยะ
ตัดต่อ อ้อยกานต์
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 27 – 4 -52


วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

วัดสุรชายาราม


วัดสุรชายาราม เดิมชื่อว่า วัดหลุมดิน เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ บริเวณที่ตั้งของวัดสุรชายาราม อยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี ด้านหน้าวัดหันไปทางทิศตะวันออกลงสู่แม่น้ำแม่กลอง ด้านเหนืออยู่ริมคลองหลุมดิน ท่านผู้หญิงอั่ม บุนนาคภริยาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์พิพัฒนาศักดิ์ (วรบุนนาค) ซึ่งดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหมในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้พบวัดหลุมดินอยู่ในสภาพวัดร้าง ชำรุดทรุดโทรมมาก อุโบสถเหลือแต่ฐานอิฐ มีหลังคามุงจากคร่อมอยู่ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตรงหน้าอุโบสถมีเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง 1 องค์ พระปรางค์1 องค์ ชำรุดทรุดโทรมมากเช่นเดียวกัน และมีใบเสมาทำด้วยหินทรายแดง สลักลวดลายอย่างสวยงาม สันนิษฐานว่าเป็นสมัยทวารวดี ปัจจุบันยังเหลืออยู่ 15 ใบ แต่ชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนของพระพุทธรูปศิลาแลงที่ชำรุดแยกออกเป็นชิ้นๆ แต่เศียรของพระพุทธรูปดังกล่าวท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนโท จันทร์) นำไปไว้ที่วัดบวรนิวาส กรุงเทพฯ หลักฐานเรื่องนี้ได้จากคำบอกเล่าของพระคุณท่านเอง ในหนังสือเรื่อง “อัตตปวัตติ” ซึ่งพิมพ์แจกในงานทำบุญอายุครบ 70 ปีของพระคุณท่าน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2469



ถ่ายภาพ คมปิยะ
ตัดต่อ อ้อยกานต์
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 24 – 4 - 52





วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ ยุทธภูมิบ้านนางแก้ว เมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ครั้งสมัยรับราชการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงได้รับมอบให้เป็นแม่ทัพรบกับพม่า และพระองค์เคยได้รับราชการตำแหน่ง "หลวงยกกระบัตร" เมืองราชบุรี ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ด้วยสำนึกในพระ มหากรุณาธิคุณ ชาวราชบุรีจึงได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ไว้ ณ เชิงเขาแก่นจันทร์ ริมถนนเพชรเกษม ปัจจุบันจังหวัดปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 22 – 4 - 52

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552

หลวงปู่เทพประทานพร


หลวงปู่เทพประทานพร พระพุทธรูปปางประทานพรสมาธิเพชร สร้างสมัยทวารวดี แกะจากหินทราย หน้าตักกว้าง 27 นิ้ว สูง 90 เซนติเมตร เป็นพระเก่าแก่ประจำวัดธรรมเจดีย์ หรือวัดท่าโขลงในปัจจุบัน ชาวบ้านและผู้มีจิตศรัทธา เมื่อ ประสบปัญหาเดือดร้อนทุกข์ใจ กับตนเอง และครอบครัวจะมาอธิษฐานขอพรจาก หลวงปู่เทพ ส่วนมากจะสัมฤทธิ์ผล หลุดพ้นจากความทุกข์ สมความปรารถนาทุกราย ชาวบ้านจึงเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงปู่เทพประทานพร”


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 20 – 4 - 52

วัดท่าโขลง


วัดท่าโขลง เป็นวัดที่สร้างมากับเมืองราชพลี ตามหลักฐานที่พระราชกวี (พระมหาอ่ำ) วัดโสมนัสวิหาร ได้ค้นคว้าพบว่ามีการจารึกเป็นภาษาโบราณไว้ที่ แผ่นกระเบื้อง ค้นพบได้ในถ้ำฤาษีเขางู ได้ความว่า ขุนหาญบุญไท ได้สร้างเมืองราชพลีเมื่อ พ.ศ. 1030 แล้วสร้างไว้ประจำเมืองทั้งสี่ทิศ สร้างวัดธรรมเจดีย์ (วัดท่าโขลง) ไว้ทางด้านทิศเหนือ สร้างวัดพุทธเจดีย์ (วัดเจดีย์หัก)ไว้ทางด้านทิศใต้ สร้างวัดมหาธาตุไว้ทางด้านทิศตะวันออก และสร้างวัดอรัญญิก ไว้ทางด้านทิศตะวันตก เมื่อกาลเวลา ได้ล่วงเลยมาเป็นเวลาที่เนิ่นนานมาก วัดธรรมเจดีย์ก็ชำรุดทรุดโทรมลงกลายเป็นวัดร้าง สิ่งก่อสร้างก็มีแต่ซากปรักหักพัง อีกทั้งต้นไม้ก็ขึ้นปกคลุมหนาแน่นไปทั่วบริเวณ ที่รู้ว่าเป็นวัดก็เพราะยังเหลือพระเจดีย์องค์ใหญ่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมไว้ทั่วทั้งองค์
ในกาลต่อมา ตระกูลวงศาโรจน์ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองราชบุรี ท่านพระครู
ขันติยาคม (วงศาโรจน์) ได้ร่วมกับชาวบ้านทำการบูรณะสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ เรียกชื่อว่าวัดท่าโขลง เพราะบริเวณที่หน้าวัดเป็นที่ราบลงสู่แม่น้ำแม่กลอง มีช้างลงมากินน้ำ และเล่นน้ำอยู่เป็นประจำ มากันมากเป็นโขลงใหญ่ๆ จึงเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดช้างโขลง หรือ วัดท่าโขลงมาจนถึงปัจจุบัน


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 17 – 4 - 52


วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

สะดือคูบัว


สะดือคูบัว เป็นหินแกรนิตจารึก ตั้งอยู่ที่วัดโขลงสุวรรณคีรี ตรงข้ามกับจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี โดยนำมาจากเหมืองหิน อำเภอบ้านตาก เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2549 ด้านที่ 1 มีอักษรธรรมล้านนา (อักษรไท-ยวน) กล่าวถึงผู้เขียนคำจารึก อักษรที่ใช้ในพุทธศักราช 2549 กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจารึก และอาณาเขตพื้นที่การปกครองของตำบลคูบัว ด้านที่ 2 กล่าวถึงประชาชนคูบัวมีภูมิปัญญาผลิตสินค้าชุมชน (OTOP) หลากหลายชนิด ร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิ สมาคม ชมรม พิพิธภัณฑ์จิปาถะฯ ความเป็นมาดั้งเดิมของพื้นที่โบราณสถานภายในเมืองโบราณคูบัว ด้านที่ 3 กล่าวถึงความเป็นมาโครตเหง้าไท-ยวน (เจ๊าเฮา) ที่เคลื่อนย้ายจากเมืองเชียงเสียน อาณาจักรล้านนาโบราณมาอยู่ที่คูบัว จังหวัดราชบุรี และด้านที่ 4 กล่าวถึงแผนที่อาณาเขตของตำบลคูบัว แผนที่จังหวัดราชบุรี และแผนที่ประเทศไทย ณ พุทธศักราช 2550 ตลอดจนรายชื่อผู้สนับสนุนบริจาคเงินซื้อหินจารึกก้อนนี้


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ อ้อยกานต์
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์
วันที่ 10- 4 - 52

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

ถ้ำจอมพล


ถ้ำจอมพล ตั้งอยู่ที่ตำบลจอมบึง จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากถ้ำเขาบินไป 11 กิโลเมตร ในบริเวณสวนรุกขชาติ ทางเข้าถ้ำจอมพลอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เดิมมีชื่อว่า “ถ้ำมุจลินทร์” เมื่อปี พ.ศ. 2483 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้เสด็จประพาสถ้ำนี้ ทรงพอพระทัยความงามของหินงอกหินย้อย โดยเฉพาะหินย้อยผาวิจิตร ที่เหมือนริ้วไหมอินทรธนูบนบ่าของจอมพล จึงทรงพระราชทานนามถ้ำใหม่ว่า “ถ้ำจอมพล” นอกจากหินงอกหินย้อยที่สวยงามแล้ว ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งมีงานฉลองเป็นประจำทุกปีในหน้าแล้ง


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 8-4-52



วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552

ถ้ำจอมพล


ถ้ำจอมพล ตั้งอยู่ที่ตำบลจอมบึง จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากถ้ำเขาบินไป 11 กิโลเมตร ในบริเวณสวนรุกขชาติ ทางเข้าถ้ำจอมพลอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เดิมมีชื่อว่า “ถ้ำมุจลินทร์” เมื่อปี พ.ศ. 2483 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้เสด็จประพาสถ้ำนี้ ทรงพอพระทัยความงามของหินงอกหินย้อย โดยเฉพาะหินย้อยผาวิจิตร ที่เหมือนริ้วไหมอินทรธนูบนบ่าของจอมพล จึงทรงพระราชทานนามถ้ำใหม่ว่า “ถ้ำจอมพล” นอกจากหินงอกหินย้อยที่สวยงามแล้ว ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งมีงานฉลองเป็นประจำทุกปีในหน้าแล้ง


ถ่ายภาพ คมปิยะ / อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 6 – 4- 52

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

วัดเขาวัง


วัดเขาวัง ตั้งอยู่บนเขาสัตตนาถ ซึ่งเป็นภูเขาลูกย่อมๆ สูงประมาณ 44 เมตร อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตร มีทางรถยนต์ขึ้นถึงยอดเขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังบนเขานี้เมื่อ พ.ศ. 2416 เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงรับสั่งให้สร้างนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่เมืองลพบุรี แต่พระองค์ได้เคยเสด็จไปประทับเพียงครั้งเดียวเมื่อ พ.ศ. 2420 เพื่อออกรับราชทูตโปรตุเกส หลังจากนั้นไม่ได้เสด็จไปประทับอีกเลยจนตลอดรัชกาล ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ อุทิศให้เป็นธรณีสงฆ์ ซึ่งมีผู้มีศรัทธาได้ซ่อมแซมบางส่วนดัดแปลงตำหนักต่างๆ เป็นโบสถ์ กุฎิสงฆ์ และต่อมาได้ยกขึ้นเป็นวัด ด้านบนสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ตัวเมืองราชบุรีโดยรอบ

ถ่ายภาพ อ้อยกานต์
ตัดต่อ คมปิยะ
บทโทรทัศน์ คมปิยะ
เสียงบรรยาย อ้อยกานต์

วันที่ 3 – 4- 52