วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วัดศรีมฤคทายวัน



           วัดศรีมฤคทายวัน ตั้งอยู่เลขที่ 4 ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 54 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 2924 อาณาเขตทั้งสี่ทิศจดที่ดินเอกชน อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 15 เมตร ยาว 25 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2505 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ศาลาการเปรียญ กว้าง 20 เมตร ยาว 50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ จำนวน 3 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536 ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 15 เมตร ยาว 37 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2530 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ 1 องค์ พร้อมพระอัครสาวก พระพุทธรูปเนื้อสำริด ลงลักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว นาม “หลวงพ่อทองคำ” นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีวิหารหลวงปู่แทน ศาลเจ้ามาลำดวล ฯลฯ
         วัดศรีมฤคทายวัน ตั้งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2504 ผู้ดำเนินการก่อสร้างวัด คือ พระแทน ธรรมโชติ ได้ชักชวนราษฎรชาวบ้านเกาะตาพุด บ้านเกาะตาสาด บ้านเกาะอินทรีย์ ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้าง เสนาสนะเพื่อใช้เป็นที่พักสงฆ์และบำเพ็ญกุศล ผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัดคือ นายฉ่ำ มีทรง ได้ถวายที่ดินจำนวน 20 ไร่ 1 งาน 21 ตารางวา วัดศรีมฤคทายวัน ได้รับความอุปถัมภ์จากราษฎรบ้านเกาะตาพุดมาโดยตลอด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2506 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตร ยาว 30 เมตร ปัจจุบันมีพระสุมิตร สมจิตฺโต เป็นเจ้าอาวาส การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2516

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ อิษฎานนท์
เสียงบรรยาย : กาญจนา สิมมา

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วัดถ้ำสาริกา



          วัดถ้ำสาริกา ตั้งอยู่บ้านถ้ำสาริกา หมู่ที่ 8 ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 22 ไร่ 1 งาน 93 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 52893 ทิศเหนือจดที่ดินเอกชน ทิศใต้จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันออกจดภูเขา ทิศตะวันตกจดทางสาธารณประโยชน์ อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 24 เมตร ยาว 36 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2543 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ จำนวน 3 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 หลัง นอกจากนี้มีหอระฆัง ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ พระเจดีย์ 1 องค์ และพระพุทธรูปปางต่างๆอีกจำนวนหนึ่ง
       วัดถ้ำสาริกา ตั้งเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2530 โดยมีนายทองเอิบ นางสมเชื้อ ใยพิมล ชาวกรุงเทพฯ เป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตจัดสร้างวัดขึ้นในอดีตสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2433 ตามลายแทงของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จทางเรือมาศึกษาบริเวณถ้ำแห่งนี้เมื่อ พ.ศ. 2399 ราว ร.ศ. 118 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จทางน้ำ โดยขึ้นบกที่ท่าน้ำเกาะพลับพลา ณ ทุ่งธรรมเสน จังหวัดราชบุรี และทรงนั่งช้างมาพร้อมกับข้าราชบริพาร เมื่อตามบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ว่า พระเจ้าตากสินฯ พร้อมไพร่พลจำนวน 500 มวล แหกด่านกรุงศรีฯ เข้ามาพักแรมค้างคืนในถ้ำแห่งนี้ ซึ่งนำทางโดยเพื่อนของพระองค์ คือ นายทองด้วง หรือ รัชกาลที่ 1 ซึ่งในอดีตนายทองด้วงเคยดำรงตำแหน่งเป็น หลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี มาก่อน เมื่อทรงพักแรม 1 คืน และได้รวบรวมอาสาสมัครและเสบียงอาหารเพิ่มเติมแล้วออกเดินทางลัดเลาะไปตามชายฝั่งทะเล เพื่อไปตั้งกกที่เมืองจันทบุรี และรัชกาลที่ 5 เป็นผู้แต่งตั้งให้หน้าถ้ำ จึงมีลายพระหัตถ์ติดหน้าถ้ำมาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันวัดแห่งนี้สะอาดร่มรื่น มีต้นไม้นานาพันธุ์ชนิดเหมาะสำหรับเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และเป็นสถานที่ฝึกอบรมทางพระพุทธศาสนา ปัจจุบันวัดถ้ำสาริกา มีพระมหาเจด็จ โฆสิตธมฺโมเป็นเจ้าอาวาส

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ อิษฎานนท์
เสียงบรรยาย : กาญจนา สิมมา

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วัดเขาวังสดึงษ์



          วัดเขาวังสดึงษ์ ตั้งอยู่เลขที่ 52 บ้านเขาดึงษ์ หมู่ที่ 1 ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 33 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 195 มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 22 ไร่ 1 งาน 16 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 150 อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 7 เมตร ยาว 12 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2518 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หอสวดมนต์ กว้าง 10 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2509 เป็นอาคารไม้ทรงไทย กุฏิสงฆ์ จำนวน 3 หลัง เป็นอาคารไม้ 2 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง วิหาร กว้าง 5 เมตร ยาว 6 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 14 เมตร ยาว 28 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางสมาธิ สมัยเชียงแสน นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร สันนิษฐานว่าสร้างต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
          วัดเขาวังสดึงษ์ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2427 เดิมเรียกว่าวัดเขาดึงษ์ ไม่ปรากฏนามผู้สร้างและผู้บริจาคที่ดิน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2533 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 26 เมตร ยาว 40 เมตร ปัจจุบันมีพระอธิการสนั่น สิริมงฺคโล เป็นเจ้าอาวาส การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2484

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ อิษฎานนท์
เสียงบรรยาย : กาญจนา สิมมา

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วัดเกาะลอย


            วัดเกาะลอย ตั้งอยู่เลขที่ 106 บ้านเกาะลอย ถนนเขางู – เบิกไพร หมู่ที่ 8 ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 15 ไร่ 42 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 33964 อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 25 เมตร ยาว 34 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 16 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2537 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หอสวดมนต์ กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ จำนวน 7 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 16 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2537 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้มีหอระฆัง และวิหารหลวงพ่อเสือ ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ มณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2460 ขนาดกว้าง 16 เมตร ยาว 16 เมตร และพระปรางค์ สร้างประมาณ พ.ศ. 2450 ขนาดกว้าง 3.50 เมตร ยาว 3.50 เมตร
          วัดเกาะลอย ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2420 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2467 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ปัจจุบันมีพระอธิการสายชล ฐิตสาโร เป็นเจ้าอาวาส การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2500

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ อิษฎานนท์
เสียงบรรยาย : กาญจนา สิมมา

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วัดโคกทอง



          วัดโคกทอง ตั้งอยู่เลขที่ 52 บ้านโคกทอง หมู่ที่ 1 ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 43 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือจดที่ดินเอกชน ทิศใต้จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันออกจดถนน ทิศตะวันตกจดที่ดินเอกชน มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 23 ไร่ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 6 เมตร ยาว 44 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2507 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 17 เมตร ยาว 44 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หอสวดมนต์ กว้าง 6 เมตร ยาว 13 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2525 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ จำนวน 3 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลัง และตึก 2 หลัง วิหาร กว้าง 6 เมตร ยาว 25 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2545 ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ และหลวงพ่ออู่ทองขนาดใหญ่
         วัดโคกทอง ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2450 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2473 การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ รุปที่ 1 พระอธการจุ่น
น้อยสนธิ รูปที่ 2 พระอธิการสงวน ฟักจุ้ย รูปที่ 3 พระครูอุเทศธรรมคุณ ปัจจุบันมีพระครูทองใบ ปัญจฺสีโล เป็นเจ้าอาวาส

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ อิษฎานนท์
เสียงบรรยาย : กาญจนา สิมมา

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วัดชัยรัตน์



           วัดชัยรัตน์ ตั้งอยู่เลขที่ 84 บ้านชัยรัตน์ หมู่ที่ 4 ตำบลท่าชุมพล อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 17 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือจดทางหลวง ทิศใต้จดที่ดินเอกชน ทิศตะวันออกจดถนนหลวง ทิศตะวันตกจดคลองชำแระ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 7785 อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 6 เมตร ยาว 16เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2514 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 24 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2535 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ หอสวดมนต์ กว้าง 12 เมตร ยาว 12 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2504 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ กุฏิสงฆ์ จำนวน 3หลัง เป็นอาคารไม้ 2 หลัง ครึ่งตึก 1 หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ พระเจดีย์ทรงรามัญ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เมตร สูง 8 เมตร ซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2511
        วัดชัยรัตน์ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2443 เดิมชื่อวัดชำแระ เปลี่ยนชื่อเป็นวัดชัยรัตน์เมื่อ พ.ศ. 2480 โดยมีอาจารย์จรัส ทำเรื่องขอเปลี่ยนวัด และเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาได้มีเจ้าอาวาสปกครองเรื่อยมาจนถึง พระครูโสภณ วิริยากร ได้บูรณะหอสวดมนต์ พ.ศ. 2514 สร้างอุโบสถ พ.ศ. 2516 สร้างสาลาการเปรียญ พ.ศ. 2520 บูรณะซ่อมแซมกฏิสงฆ์เป็นเรือนไม้ 2 หลัง และได้สร้างฌาปนสถาน สร้างกุฏิอีก 18 หลัง และบุรณะเจดีย์ทรงรามัญ นอกจากนั้นได้พัฒนาวัดจนได้รับรางวัลปรับสภาพสิ่งแวดล้อมและสะอาดจากเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เมื่อพ.ศ. 2515 วัดชัยรัตน์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2514 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ปัจจุบันมีพระอธิการประพัฒน์ ประภาโต เป็นเจ้าอาวาส การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2503

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ อิษฎานนท์
เสียงบรรยาย : กาญจนา สิมมา

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วัดขนอน


          วัดขนอน ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านบางเลา หมู่ที่ 4 ตำบลสร้อยฟ้า อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 55 ไร่ 40 ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ 15033 อาณาเขตทิศเหนือและทิศใต้จดที่ดินเอกชน ทิศตะวันออกจดแม่น้ำ ทิศตะวันตกจดที่ดินเอกชน อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 29 เมตร ยาว 58 เมตร สร้างเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นอาคารทรงไทย ประดับช่อฟ้าใบระกา ศาลาการเปรียญ กว้าง 20 เมตร ยาว 25.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2454 เป็นอาคารไม้ทรงไทย หอสวดมนต์ กว้าง 11 เมตร ยาว 22 เมตร เป็นอาคารไม้ทรงไทย กุฏิสงฆ์ จำนวน 3 หลัง เป็นอาคารไม้ ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง 9.50 เมตร ยาว 14.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2543 เป็นอาคารไม้ทรงไทย ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้มี พิพิธภัณฑ์โบราญวัตถุ ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ ศิลปะสมัยอู่ทองขนาดหน้าตักกว้าง 69 นิ้ว สร้างเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา และพระพุทธรูปสมัยโบราณ ศิลปวัตถุ เครื่องลายครามสมัยรัตนโกสินทร์ และหนังใหญ่อายุราว 100 ปี จำนวน 313 ตัว
         วัดขนอน ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2300 แต่เดิมเคยเป็นที่ตั้งด่านเก็บภาษีอากร ไม่ปรากฎว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง เมื่อ พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำกำลังพลเสือป่ามาพักประทับแรมที่วัดขนอน และในปี พ.ศ. 2534 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จนำนักเรียนนายร้อย มาทัศนศึกษาด่านขนอน และหนังใหญ่วัดขนอน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2300 ปัจจุบันมีพระครูพิทักษ์ ศิลปาคม เป็นเจ้าอาวาส การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2493

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ อิษฎานนท์
เสียงบรรยาย : กาญจนา สิมมา


วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วัดคงคาราม



            วัดคงคาราม ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านคงคา หมู่ที่ 3 ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 15 ไร่ 38 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 7 เมตร ยาว 17.25 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 15.30 เมตร ยาว 22.30 เมตร เป็นอาคารไม้ กุฏิสงฆ์ จำนวน 11 หลัง เป็นอาคารไม้ 9 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 หลัง ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง 8.30 เมตร ยาว 13 เมตร เป็นอาคารไม้ ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 2 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้มีศาลาท่าน้ำ ศาลาตักบาตร ศาลาศูนย์ปฏิบัติธรรม และโรงครัว ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ และจิตรกรรมฝาผนัง ภายในวัดมีพระเจดีย์เก่า มีพิพิธภัณฑ์เก็บวัตถุโบราณ จำนวน 5,000 ชิ้น
          วัดคงคาราม ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2320 เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นในหมู่บ้านของครอบครัวพระยามอญ 7 คน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ไปทำหน้าที่ป้องกันพม่าทางจังหวัดกาญจนบุรี ต่อมาได้เริ่มจัดสร้างวัดโยได้ต่อแพบรรทุกไม้ไผ่ล่องมาตามแม่น้ำลำคลอง จึงได้ชื่อว่า วัดคงคาราม แต่เดิมวัดนี้มีฐานะเป็นวัดเจ้าคณะนิกายรามัญในแขวงราชบุรี จึงมีชื่อเป็นภาษามอญว่า “เผียโต่” แปลว่า วัดกลาง เป็นศูนย์รวมของวัดมอญต่างๆ ในจังหวัดราชบุรี นอกจากนั้นยังเป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยานเรศวรฤทธิ์ และตระกูลเจ้าจอมมารดากลิ่น ทรงอุปถัมภ์ จึงได้ช่างจิตรกรรมฝาผนังมาจากราชสำนัก ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ดูแลและอนุรักษ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2330 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 7 เมตร ยาว 17.25 เมตร ปัจจุบันมีพระอธิการสันติ สนฺติกโร เป็นเจ้าอาวาส



ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ อิษฎานนท์
เสียงบรรยาย : กาญจนา สิมมา

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัดขนอน



           พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัดขนอน ตั้งอยู่ที่ตำบลสร้อยฟ้า อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัดขนอน เป็นโครงการพระราชดำริ ที่มีอายุกว่า 100 ปี จัดสร้างขึ้นเพื่อไว้สำหรับการศึกษา และทางวัดยังได้ฝึกหัดเยาวชนให้เรียนรู้ในด้านการแสดงหนังใหญ่ การเล่นดนตรีไทย และการแกะสลักหนังใหญ่ เพื่อสืบทอดงานศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า หนังใหญ่วัดขนอน ได้มีการสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผู้ที่ริเริ่มในการแกะสลักตัวหนัง คือ ท่านพระครูศรัทธาสมุทร (หลวงปู่กล่อม) ท่านมีความคิดที่จะสร้างหนังใหญ่ให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม จึงได้ชักชวนครูอั๋ง ช่างจาด ช่างจ๊ะ และช่างพ่วง มาร่วมกันสร้าง ชุดแรกที่สร้าง คือ ชุดหนุมานถวายแหวน ต่อมาได้สร้างเพิ่มอีกจำนวน 9 ชุด ปัจจุบันมีตัวหนัง 313 ตัว นับเป็นสมบัติของทางวัดที่ได้ร่วมรักษาสืบทอดกันมา เป็นเพียงวัดเดียวที่มีมหรสพเป็นของวัด มีตัวหนัง และคณะหนังใหญ่ที่สมบูรณ์อยู่ในความอุปถัมภ์ของวัด ซึ่งทางวัดได้ร่วมกับภาครัฐ และเอกชนในการนำหนังใหญ่ไปแสดงเผยแพร่ยังที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาแล้วหลายครั้ง
           ในปี พ.ศ. 2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปถัมภ์มรดกไทย ทรงเห็นคุณค่าในการแสดง และศิลปะในตัวหนัง ทรงมีพระราชดำริให้ทางวัดช่วยอนุรักษ์หนังใหญ่ โดยจัดทำหนังใหญ่ชุดใหม่ขึ้นไว้แสดงแทนชุดเก่า มีมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านช่างจัดทำหนังใหญ่ทั้งหมด และได้นำหนังใหญ่ชุดใหม่ที่สร้างขึ้น ทูลเกล้าถวายเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ณ โรงละครแห่งชาติ พระองค์ได้พระราชทานให้วัดขนอนนำมาใช้ในการแสดง ส่วนหนังใหญ่ชุดเก่าให้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์โดยห้ามนำไปแสดง

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ อิษฎานนท์
เสียงบรรยาย : กาญจนา สิมมา

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

จิตรกรรมฝาผนัง วัดคงคาราม



            จิตรกรรมฝาผนัง วัดคงคาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางเหนือ ตามทางหลวงหมายเลข 4 ประมาณ 22 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 3080 อีก 1 กิโลเมตร เป็นวัดมหานิกายฝ่ายรามัญ หรือ วัดมอญ สร้างขึ้นโดยพระยามอญ มีอายุกว่า 200 ปี แต่เดิมเรียกว่า “วัดกลาง” หรือ “เภี้ยโต้” สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ได้บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์บูรณะ เมื่อปี พ.ศ. 2543 รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดคงคาราม” ประกอบด้วยพระอุโบสถ มีเจดีย์ทรงรามัญ 7 องค์รายรอบ ภายในอุโบสถมีพระประธาน แกนในทำด้วยศิลาแลงและปิดทองฐานชุกชีทำเป็นบัวคว่ำบัวหงาย และภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือละเอียดอ่อน ภาพแต่ละภาพเหมือนถ่ายทอดจากต้นแบบที่มีชีวิตจริง เขียนขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นภาพพุทธประวัติตอนต่าง ๆ ที่หาชมยาก นอกจากนี้ยังมีกุฏิเรือนไทย 9 ห้องสร้างในสมัยธนบุรี ปัจจุบันจัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน รวบรวมวัตถุเก่าแก่ซึ่งเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา โดยเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. อัตราค่าเข้าชม ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ราคา 10 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี โทร. 032 - 231770, 032 – 231933 และ 081 - 5275308

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ อิษฎานนท์
เสียงบรรยาย : กาญจนา สิมมา

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

วัดเกาะลอยอุดมเอกธาราม



           วัดเกาะลอยอุดมเอกธาราม ตั้งอยู่ เลขที่ 56 บ้านเกาะลอย หมู่ที่ 7 ตำบลคุ้งกระถิน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน 65 ตารางวา ทิศเหนือและทิศใต้จดแม่น้ำแควอ้อม ทิศตะวันออกจดคลอง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำแควอ้อม มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 8 แปลง เนื้อที่ 104 ไร่ 2 งาน 388 ตารางวา อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 10 วา ยาว 12 วา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2426 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย ศาลาการเปรียญ กว้าง 10 วา ยาว 15 วา เป็นอาคารไม้ หอสวดมนต์ กว้าง 8 วา ยาว 16 วา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ กุฏิสงฆ์ จำนวน 3 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ วิหาร กว้าง 6 วา ยาว 6 วา เป็นอาคารคอนกรีตทรงไทยจัตุรมุข สร้างเมื่อ พ.ศ. 2535 ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้ กุฏิอุบาสิกา 3 หลัง เป็นอาคารไม้ ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 63 นิ้ว สูง 63 นิ้ว สร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระพุทธรูป ศิลาแลง ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 43 นิ้ว สูง 53 นิ้ว ประดิษฐานอยู่หน้าอุโบสถ สร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ธรรมาสน์มุก สำหรับแสดงพระธรรมเทศนาในอุโบสถ ประตูอุโบสถ เป็นลายแกะสลักลงรักปิดทอง
          วัดเกาะลอยอุดมเอกธาราม ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2426 ในที่ดินของนายเอก และ นายอ่อน นายเปล่ง อำแดงทิม ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะเล็กมีน้ำล้อมรอบ อยู่ตำบลแควอ้อม ปัจจุบันคือตำบลคุ้งกระถิน บ้านกาหลงปัจจุบันเป็นบ้านเกาะลอย มีพระครูสิริปัญญามุนี (อ่อน เทวนิโภ) เดินทางมาจากกรุงเทพ ได้มาพักอาศัยอยู่ในย่านนี้ เป็นพระที่แสดงธรรมเทศนามีชื่อเสียงมาก เคร่งครัดในด้านธรรมวินัย เพราะเหตุนี้ นายเอก นายอ่อน อำแดงทิม จึงมีจิตศรัทธาเลื่อมใส ถวายที่ดินให้สร้างวัดมาตั้งแต่สมัยนั้น เดิมพระครูสิริปัญญามุนี ตั้งชื่อวัดว่า “วัดเกาะลอย” ต่อมาประชาชนได้เพิ่มชื่อเจ้าของที่ดินเป็นชื่อว่า “วัดเกาะลอยอุดมเอกธาราม” จนถึงปัจจุบัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2430 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 6 วา 3 ศอก ยาว 12 วา ปัจจุบันมีพระครูวิสุทธิพลญาณ เป็นเจ้าอาวาส

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ อิษฎานนท์
เสียงบรรยาย : กาญจนา สิมมา

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

วัดเวียงทุน



           วัดเวียงทุน ตั้งอยู่ เลขที่ 53 บ้านเวียงทุน หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 13 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 5 แปลง เนื้อที่ 37 ไร่ 1 งาน 92 ตารางวา อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 8 เมตร ยาว 21.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2502 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 14 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2537 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย หอสวดมนต์ กว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2538 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย 2 ชั้น กฏิสงฆ์ จำนวน 5 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 หลัง และตึก 1 หลัง วิหาร กว้าง 2 เมตร ยาว 6 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2527 ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ 1 องค์ พร้อมพระอัครสาวก
          วัดเวียงทุน ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2334 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2508 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ปัจจุบันมีพระครูอุดมธรรมประยุต เป็นเจ้าอาวาส การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2526

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ  อิษฎานนท์
เสียงบรรยาย : กาญจนา  สิมมา

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัดป่าไก่


        วัดป่าไก่ ตั้งอยู่ เลขที่ 1 บ้านป่าไก่ ถนนท้าวอู่ทอง หมู่ที่ 3 ตำบลป่าไก่ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 57 ไร่ 10 งาน อาณาเขตทิศเหนือจดอนามัย ทิศใต้จดโรงเรียน ทิศตะวันออกจดถนนท้าวอู่ทอง ทิศตะวันตกจดคลองชลประทาน มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 5 แปลง เนื้อที่ 25 ไร่1 งาน 96 ตารางวา อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 8 เมตร ยาว
13 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาเปรียญ กว้าง 15 เมตร ยาว 19 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นอาคารไม้ กุฏิสงฆ์ จำนวน 6 หลัง เป็นอาคารไม้ 4 หลัง และตึกอีก 2 หลัง วิหาร กว้าง 9 เมตร ยาว 10 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2538 ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 18 เมตร ยาว 39 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2533 เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 2 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2273 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2398 ปัจจุบันมีพระอธิการมนู ปภสฺสโร เป็นเจ้าอาวาส

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัดหนองระกำ (กระต่ายทอง)



          วัดหนองระกำ ตั้งอยู่บ้านหนองระกำ หมู่ที่ 8 ตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 15 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือจดที่ดินเอกชน ทิศใต้จดทางสาธารณะ ทิศตะวันออกจดที่ดินเอกชน ทิศตะวันตกจดคลองชลประทาน อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2549 ได้รับพระรับตราพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ติดหน้าบันอุโบสถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา มีพระพุทธศรีชัยมงคลจักรพรรดิ เป็นพระประธานประจำอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย หอสวดมนต์ กว้าง 14 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 เป็นอาคารไม้ กุฏิสงฆ์ จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารไม้ ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้มี หอระฆัง 1 หลัง โรงครัว 1 หลัง ภายในบริเวณยังมีปูชนียวัตถุ และไม้ตะเคียนทอง ที่ชาวบ้านนำมาจากวังปลาช่อน ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ เมื่อปี พ.ศ. 2552
วัดหนองระกำ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2526 เดิมเป็นสำนักสงฆ์กระต่ายทอง เนื่องจากบริเวณพื้นที่แห่งนี้เดิมมีกระต่ายชุกชุม จึงเรียกบ้านดอนกระต่าย ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านหนองระกำ เพราะมีต้นระกำใหญ่หลายต้นขึ้นอยู่บริเวณหนองน้ำ วัดหนองระกำได้รับความอุปถัมภ์จากราษฎรบ้านหนองระกำมาโดยตลอด ปัจจุบันมีพระครูโสภณธรรมาภิบาล (เล็ก ธมฺมปาโล) เป็นเจ้าอาวาส การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อพ.ศ. 2528

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัดดอนทราย



         วัดดอนทราย ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านดอนทราย หมู่ที่ 1 อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 23 ไร่ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 8 เมตร ยาง 25 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ศาลาการเปรียญ กว้าง 27 เมตร ยาว 35 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ สาลาอเนกประสงค์ ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ และพระเจดีย์เก่าแก่ 1 องค์
          วัดดอนทราย ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2404 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 52 เมตร ยาว 52 เมตร ปัจจุบันมี พระครูศุภกิจพิมล เป็นเจ้าอาวาส การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมเปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2500 ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2526

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัดทุ่งน้อย



         วัดทุ่งน้อย ตั้งอยู่เลขที่ 100 หมู่ที่ 11 ตำบลหินกอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 22 ไร่ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ ศาลาบำเพ็ญกุศล สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยภายในบริเวณวัดมีวิหารพระศรีเมืองราช วิหารหลวงพ่อดำ ซึ่งขุดพบจากคลองหลวง ตำบลดอนตลุง จังหวัดราชบุรี นำไปประดิษฐาน ณ ถ้ำปทุม ตำบลห้วยตะแคง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จากนั้น พระครูจันทสารทนวัตร์ อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งน้อย ได้นำมาประดิษฐานภายในบริเวณวัด นอกจากนี้ยังมีไม้ตะเคียน ที่ชาวบ้านนำมาถวายวัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ซึ่งชาวบ้านให้ความนับถือ และมาขอโชค ลาภ ส่วนมากก็จะสมหวัง
วัดทุ่งน้อย ตั้งเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2519 การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่นาม คือ รูปที่ 1 พระครูจันมสารทนวัตร์ พ.ศ. 2540 รูปที่ 2 พระอธิการใจ นิติสาโร พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัดท่าช้าง



          วัดท่าช้าง ตั้งอยู่เลขที่ 63 ถนนท้าวอู่ทอง หมู่ที่ 10 ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 13 ไร่ 61 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือจดคลองฟากห้วย ทิศใต้จดบ้านต้นแก ทิศตะวันออกจดถนนท้าวอู่ทอง ทิศตะวันตกจดทุ่งนา อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 8 เมตร ยาว 20 เมตร ศาลาการเปรียญ กว้าง 14 เมตร ยาว 25 เมตร กุฏิสงฆ์ จำนวน 1 หลัง วิหาร กว้าง 12 เมตร ยาว 31 เมตร ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
วัดท่าช้าง ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2438 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2515 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ปัจจุบันมีพระครู สมุภักดี ภัตตฺโก เป็นเจ้าอาวาส

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัดบ้านโพธิ์


      
  วัดบ้านโพธิ์ ตั้งอยู่เลขที่ 75 หมู่ที่ 11 ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 14 ไร่ 3 งาน 26 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 6 แปลง เนื้อที่ 47 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ที่เรียกว่าวัดบ้านโพธิ์ เนื่องจากภายในบริเวณมีต้นโพธิ์ขึ้นเยอะ ชาวบ้านจึงนำมาใช้ตั้งเป็นชื่อวัด อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2482 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 16 เมตร ยาว 40 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หอสวดมนต์ กว้าง 80 เมตร ยาว 42 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2455 เป็นอาคารไม้ทรงโบราณ หอสวดมนต์ กว้าง 6 เมตร ยาว 19 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 เป็นอาคารไม้ กุฏิสงฆ์ จำนวน 4 หลัง เป็นอาคารไม้ 2 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง และตึก 1 หลัง ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 43 เมตร ยาว 43 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2533 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้ภายในบริเวณยังมีวิหารหลวงพ่อเปลี่ยน ซึ่งเป็นหลวงพ่อที่ชาวบ้านตำบลคูบัวให้ความเคารพนับถือ
วัดบ้านโพธิ์ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2417 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2482 ปัจจุบันมี พระครูอธิการบุญสม นาทสีโล เป็นเจ้าอาวาส การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2444

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัดใหม่ชำนาญ



           วัดใหม่ชำนาญ ตั้งอยู่ถนนเพชรเกษม หมู่ที่ 2 ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธารามจังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 10 ไร่ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 7 เมตร ยาว 22 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2513 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2484 เป็นอาคารไม้ หอสวดมนต์ กว้าง 5 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2482 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ กุฏิสงฆ์ จำนวน 2 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง วิหาร กว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539 ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 5 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2538 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 2 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 หลัง สร้างด้วยไม้ 1 หลัง นอกจากนี้มี ศาลาพักร้อน 1 หลัง ศาลาริมน้ำ 1 หลัง ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ 1 องค์ พร้อมพระอัครสาวก พระศิวลี พระฤาษี มีการปรับปรุงของเดิมแทนของเก่าที่ถูกไฟไหม้ หลวงปูดำ ทำด้วยปูนร้อยเกสร และรูปปั้นหลวงปู่เจ็น อดีตเจ้าอาวาส
วัดใหม่ชำนาญ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2419 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2519 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ปัจจุบันมีพระครูสมุห์ช้อย ถาวโร เป็นเจ้าอาวาส มีพระครูสมุห์ สิทธิชัย เป็นฝ่ายปรึกษาเจ้าอาวาส

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัดบ้านซ่อง



       วัดบ้านซ่อง ตั้งอยู่เลขที่ 35 หมู่ที่ 7 ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 23 ไร่ 22 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 4 แปลง เนื้อที่ 22 ไร่ 2 งาน 14 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 15 เมตร ยาว 21 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2537 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 16 เมตร ยาว 40 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หอสวดมนต์ กว้าง 16 เมตร ยาว 28 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2540 เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ทรงไทยประยุกต์ กุฏิสงฆ์ จำนวน 6 หลัง เป็นอาคารไม้ 3 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 3 หลัง ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 18 เมตร ยาว 20 เมตร เป็นอาคารไม้ หอระฆัง โรงครัว ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 1.50 เมตร สูง 2 เมตร พระพุทธรูปสำริดปางอื่นๆ อีก 7 องค์ ใบเสมาธรรมจักรสร้างด้วยหินทรายแดงอีกจำนวน 4 คู่ โดยภายในบริเวณวัดมีเรือใหญ่สมัยรัชกาลที่ 5 และต้นตะเคียนทองต้นใหญ่ที่ชาวบ้านชอบมาขอพร ขอลาภ ส่วนใหญ่ก็จะสมความปรารถนา



วัดบ้านซ่อง ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2420 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร 18 วา ปัจจุบันมี พระครูรัตนวโรภาส (วิสุทธิ์ ปภาโส) เป็นเจ้าอาวาส การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2505







ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ



เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัดคลองโพธิ์เจริญ




             วัดคลองโพธิ์เจริญ ตั้งอยู่เลขที่ 70 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือจดที่ดินเอกชน ทิศใต้จดคลอง ทิศตะวันออกจดถนน ทิศตะวันตกจดแม่น้ำแม่กลอง อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 7.50 เมตร ยาว 25 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย ศาลาการเปรียญ กว้าง 10 เมตร ยาว 25 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2518 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน ทรงยกช่อฟ้าศาลาการเปรียญเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551 หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ จำนวน 4 หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้มีศาลาเก็บศพชาวจีน เจดีย์โบราณข้างโบสถ์ ศาลาท่าน้ำทรงปั้นหยา กุฏิแม่ชี และโรงครัว ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ พระพุทธรูปในอุโบสถเก่า เป็นศิลปะสมัยอู่ทองติดต่อกับสมัยอยุธยา ทำด้วยหินศิลาแลง 3 องค์ รูปปั้นหลวงปู่เทศ อดีตเจ้าอาวาส สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539 ภายในบริเวณมีต้นพิกุลขึ้นอยู่ด้านข้าง
วัดคลองโพธิ์เจริญ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2467 เป็นวัดสร้างขึ้นในหมู่บ้านคลองโพธิ์ ที่วัดมีลำคลองอยู่ริมเขตวัด และมีต้นโพธิ์ใหญ่ขึ้นอยู่กลางลำคลอง ชาวบ้านในบริเวณวัดจึงเรียกว่า วัดคลองโพธิ์เจริญ เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านด้วย วัดคลองโพธิ์เจริญ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2514 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร ปัจจุบันมีพระครูสังฆกิจจานุรักษ์ ณัฐพงศ์ เขมธโร เป็นเจ้าอาวาส การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อพ.ศ. 2512

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัดบ้านไร่ (ใหม่เจริญผล)


               วัดบ้านไร่ (ใหม่เจริญผล) ตั้งอยู่เลขที่ 47 บ้านไร่ ถนนหัวโพ – ชาวเหนือ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านไร่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 84 ตาราง มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 45 ไร่ 3 งาน 58 ตารางวา อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 8.40 เมตร ยาว 22 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2525 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 22 เมตร ยาว 34 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2518 หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ จำนวน 4 หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง ปูชนียวัตถุ มีพระพุทธรูปนามว่า หลวงพ่อมงคลจักรวาล หลวงพ่อแดง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2527 และหลวงพ่อป่าเลไลยก์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2477
วัดบ้านไร (ใหม่เจริญผล) ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2432 โดยมีผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด คือ นางแหวด วัดครุฑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2477 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 6.30 เมตร ยาว 13.75 เมตร ปัจจุบันมีพระครูนันทสารโสภณ เป็นเจ้าอาวาส การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อพ.ศ. 2519

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หลวงปู่เกศ วัดพิกุลทอง


               หลวงปู่เกศ หรือ หลวงปู่เกศ เกธสโร ประดิษฐานอยู่ที่วัดพิกุลทอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี หลวงปู่เกศ ถือกำเนิดที่ตำบลบางป่าใน ( ตำบลพิกุลทองในปัจจุบัน ) หลวงปู่ เป็นพระที่มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส มีเมตตาธรรมสูงยิ่ง ชอบช่วยเหลือชาวบ้านที่ทำแต่ความดี ชาวบ้านเล่าว่า หลวงปู่มีวาจาสิทธิ์ เพราะมีอยู่ครั้งหนึ่งในสมัยก่อน ที่ลำคลองหน้าวัดมีน้ำเต็มคลอง มีปลาแมงภู่ชุกชุมมาก ชาวบ้านใกล้วัดไม่มีใครกล้าจับ เพราะถือเป็นเขตอภัยทาน แต่มีชาวบ้านต่างถิ่นได้นำเรือและอุปกรณ์มาลากปลาในลำคลองหน้าวัด ชาวบ้านได้เตือนแล้วแต่ไม่มีใครฟัง จึงไปบอกหลวงปู่ หลวงปู่บอกว่าไม่ต้องห้าม เขาได้ปลาไปแต่ก็ไม่ได้กินหรอก ปล่อยเขาไปเถอะ และก็เป็นดังที่หลวงปู่พูด คนที่มาลากปลาวันนั้นได้ปลาไปมากมาย เมื่อกลับไปแล้วมารู้ตอนหลังว่า คนที่หาปลาเสียชีวิตทั้งหมด เพราะเป็นโรคท้องร่วง ไม่ได้กินปลาแม้แต่ตัวเดียวตามที่หลวงปู่บอก
ขณะที่หลวงปู่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง หลวงปู่ได้พัฒนาวัดตลอดจนสิ้นอายุไข ต่อมาในสมัยพระครูไพบูลย์พัฒนานุยุต เป็นเจ้าอาวาส ได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างรูปเหมือนของหลวงปู่ด้วยทองเหลืองขนาดเท่าองค์จริง เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 และได้อัญเชิญประดิษฐานในวิหารจัตุรมุข เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็น เครื่องเตือนสติให้คนที่มากราบไหว้ได้กระทำความดี อยู่ในศีลธรรม ผู้ที่มีความเดือดร้อนก็จะมากราบไหว้ให้หลวงปู่ช่วยเหลือ เมื่อสิ่งที่ขอสำเร็จ สมหวัง ก็จะนำหัวหมู ปู่เค็ม ประทัดมาถวาย



ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วัดพิกุลทอง



         วัดพิกุลทอง ตั้งอยู่บ้านพิกุลทอง หมู่ที่ 3 ตำบลพิกุลทอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 25 ไร่ มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 5 แปลง เนื้อที่ 52 ไร่ 5 งาน 70 ตารางวา อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 6 เมตร ยาว 10 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลลาการเปรียญ กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2508 หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ ศาลาเอนกประสงค์ และศาลาบำเพ็ญกุศล
วัดพิกุลทอง ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2359 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2359 เดิมชื่อ วัดบางป่าใน มีอายุกว่า 200 ปี ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดพิกุลทอง เพราะในสมัยก่อนบริเวณวัดมีต้นพิกุลอยู่มากมาย และมีต้นใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง วันดีคืนดีเที่ยงคืนกว่า บริเวณโคนต้นพิกุลใหญ่จะมีแสงสีทองพวยพุ่งขึ้นมา ชาวบ้านจึงนำผ้าขาวไปปู่รองเอาไว้ พอรุ่งเช้าไปดูเห็นเป็นเกล็ดทองคำระยิบระยับไปหมด เป็นที่กล่าวขาน ดังนั้นชาวบ้านจึงเรียกวัดพิกุลทองแทนวัดบางป่า ชื่อเต็ม คือ วัดพิกุลทองจิตรลดาราม แต่นิยมเรียกสั้นๆว่า วัดพิกุลทอง ปัจจุบันมีพระเดชา จนฺทโชโต เป็นเจ้าอาวาส การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2526



ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วัดศาลเจ้า


วัดศาลเจ้า ตั้งอยู่เลขที่ 63 บ้านคุ้งกระถิน หมู่ที่ 2 ตำบลคุ้งกระถิน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 3 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือจดแม่น้ำแม่กลอง ทิศใต้จดถนนสายราชบุรี – วัดจัน ทิศตะวันออกจดหมู่บ้านคุ้งกระถิน ทิศตะวันตกจดคลองแควอ้อม มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 4 แปลง เนื้อที่ 18 ไร่ 1 งาน 64 ตารางวา อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 12 เมตร ยาว 22 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลลาการเปรียญ กว้าง 12 เมตร ยาว 22 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 กุฏิสงฆ์ จำนวน 1 หลัง วิหารกว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2531 ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง 12 เมตร ยาว 18 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2543 ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง นอกจากนี้มีศาลาริมน้ำ 1 หลัง ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ 1 องค์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2475 เจดีย์ 1 องค์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2465
วัดศาลเจ้า ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2301 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2475 ปัจจุบันมีพระสันติ คนฺธสีโล เป็นเจ้าอาวาส

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม




หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ประดิษฐานอยู่ที่วัดช่องลม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีประวัติเล่าสืบทอดกันมาว่า เป็นพระพุทธรูปที่ลอยมาตามลำน้ำแม่กลอง ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวราชบุรีได้ร่วมกันอธิษฐานนำขึ้นประดิษฐานไว้สักการบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล
หลวงพ่อแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธปฏิมา ศิลปะสมัยทวารวดี ในส่วนตั้งแต่พระเศียรถึงพระอุระ เป็นเนื้อทองสำริด ส่วนองค์พระสร้างด้วยไม้จันทน์หอม มีความสูงตั้งแต่พระเกศมาลาถึงพระบาท 2.26 เมตร เป็นพระพุทธปฏิมาปางอุ้มบาตร โดยบาตรขององค์หลวงพ่อ เหมือนสวมอยู่ในถุงบาตรและมีสิ่งหนึ่งยาวประมาณ 2 นิ้ว ยื่นออกมาจากขอบบาตร ซึ่งติดอยู่กับปากบาตรทั้งสองข้าง ดูแล้วเหมือนม้วนผ้าที่ยื่นออกมาสำหรับจับ พระหัตถ์ของหลวงพ่อแก่นจันทน์จับอยู่ที่ม้วนผ้า คล้ายสะพายบาตร ซึ่งนับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะแปลกจากพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรทั่วไป เพราะเป็นลักษณะถือบาตร ที่ไม่มีในพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรอื่น โดยยังเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมาก
หลวงพ่อแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีบารมีธรรมที่สูงส่งยิ่ง ตามปกติมีผู้มากราบไหว้บูชาขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ส่วนใหญ่จะขอให้ช่วยปัดเป่าเหตุร้ายทุกวัน จนเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดราชบุรี ตลอดมา

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ



หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ ณ เขาแก่นจันทร์ บริเวณกลางเขาของทางขึ้นเขาแก่นจันทร์ ได้ทำการจัดสร้างขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 และเพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณ และพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ประชาชนได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยมาโดยตลอด

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วัดหนองโพ



วัดหนองโพ ตั้งอยู่เลขที่ 156 บ้านหนองโพ หมู่ที่ 2 ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 20 ไร่ 2 งาน วัดหนองโพ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2349 เดิมชื่อวัดหนองแขม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อให้สอดคล้องกับชื่อตำบลในปี พ.ศ. 2349 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2533 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 8.7 เมตร ยาว 17.5 เมตร ปัจจุบันมีพระมหาสมคิด อตฺถสิทฺโธ เป็นเจ้าอาวาส

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วัดห้วยหมู



วัดห้วยหมู ตั้งอยู่เลขที่ 39 บ้านห้วยหมู หมู่ที่ 9 ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 9 ไร่ 1 งาน 57 ตารางวา
มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 21 ไร่ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 7 เมตร ยาว 13 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2467 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 12 เมตร ยาว 21 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2495 เป็นอาคารไม้ กุฏิสงฆ์จำนวน 3 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 หลัง และตึก 1 หลัง ศาลาอเนกประสงฆ์ และศาลาบำเพ็ญกุศล ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถปางมารวิชัย 1 องค์ พร้อมพระอัครสาวก พระพุทธโสธรจำลองเนื้อโลหะ พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร เนื้อโลหะ พระสีวลี สมเด็จเจ้าพะโคะ หรือหลวงปู่ทวด โดยทางวัดได้จัดทำพิธีหล่อหลวงปู่ทวด เมื่อวันเสาร์ 5 หรือวันที่ 20 มีนาคม 2553 พระพุทธรูปนามหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ และรูปหล่อพระครูอมรรัตน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยหมู
วัดห้วยหมูตั้งเมื่อ พ.ศ. 2445 ตามตำนานกล่าวว่าชาวเขมรเป็นผู้สร้างวัดขึ้น เดิมสภาพพื้นที่วัดมีลำห้วยและมีรูปหมูป่ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีการตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านห้วยหมู” และตั้งชื่อวัดให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน วัดห้วยหมูได้รับความอุปถัมภ์จากราษฎรห้วยหมูมาโดยตลอด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2467 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 7 เมตร ยาว 13 เมตร การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระสาม รูปที่ 2 พระครูอมรธรรมรัตน์ รูปที่ 3 พระครูสมุห์น้อย พ.ศ. 2522 – 2527 รูปที่ 4 พระขวัญชัย พ.ศ. 2528 – 2530 และรูปที่ 5 พระครูจันทสีลากร พ.ศ. 2531 ถึงปัจจุบัน การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2531 การบวชชี – พราหมณ์ ในช่วงเดือนสิงหาคม ของทุกปี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปราสาทหลวงพ่อโกสินารายณ์



ปราสาทหลวงพ่อโกสินารายณ์ อยู่ใกล้กับบริเวณสระน้ำโกสินารายณ์ แถวที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง ตำบลท่าผา จังหวัดราชบุรี ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2509 โดยพระอธิการอัต เขมทตุโต บูรณขึ้นใหม่ในสมัยนายทรงยศ อรัญยกานนท์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าผา และคณะ ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 ถึงวันที่ 26 มกราคม 2549 จึงแล้วเสร็จ โดยมีนายสาโรช คัชมาตย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 ภายในบริเวณมีซากโบราณสถานจอมปราสาท แสดงถึงว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองโบราณมาในอดีต สระโกสินารายณ์ ที่ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยน "โบราณสถาน"ที่เหลืออยู่ ให้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชน

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิหารหลวงพ่อดำ (พุทธโพธิ์ศรี)



วิหารหลวงพ่อดำ (พุทธโพธิ์ศรี) ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบึงกระจับ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวบึงกระจับ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง นายเลื่อน คำดี ชาวบ้านวัดบึงกระจับ เล่าว่า หลวงพ่อดำ (พุทธโพธิ์ศรี) มีอายุการสร้างประมาณ 100 กว่าปี มีชาวบ้านแถวระแวกใกล้เคียง และประชาชนในจังหวัด มาบนบาน และขอพร กับหลวงพ่อดำ ส่วนใหญ่ก็จะได้สมดังความปรารถนา และเมื่อได้สิ่งที่ต้องการชาวบ้านก็มักจะแก้บนด้วยการถวายข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ประทัด ไข่ต้ม หนัง หรือมหรสพ ฯลฯ

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วัดบึงกระจับ


วัดบึงกระจับ ตั้งอยู่บ้านบึงกระจับ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน 7 ตารางวา อาณาเขต ทั้งสี่ทิศจดที่ดินเอกชน มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กฏิสงฆ์ ศาลาเอนกประสงค์ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดบึงกระจับ ตั้งเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2520 การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระอธิการประเจน สนฺตุสฺสโก พ.ศ. 2521 – 2524 รูปที่ 2 พระครูสังฆรักษ์สำรวย อนุตฺตโร พ.ศ. 2527 – 2536 รูปที่ 3 พระอธิการชะลอ นรินฺโท พ.ศ. 2538 ถึงปัจจุบัน การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2527

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สระน้ำโกสินารายณ์



สระน้ำโกสินารายณ์ เป็นสระน้ำโบราณอยู่ใกล้ที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง ตำบล ท่าผา มีขนาดความกว้างประมาณ 200 เมตร ยาวประมาณ 400 เมตร มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ ประชาชนในจังหวัดเรียกว่าสระโกสินารายณ์ เพราะถือว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ภายในบริเวณมีซากโบราณสถานจอมปราสาท และในตัวเมืองมีสระน้ำอีก 4 สระ คือสระนาค สระจระเข้ สระมังกร และสระแก้ว
จากหลักฐานการค้นคว้าทางโบราณคดีแสดงถึงว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองโบราณมาในอดีต มีการขุดพบพระกรของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ทำด้วยหินทรายแดง มี 5 พระกร ถือคัมภีร์ ลูกประคำ และดอกบัว กับพระบาทของพระโพธิสัตว์คู่หนึ่ง ปัจจุบันได้นำมาประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี ปัจจุบันร่องรอยและโบราณคดีในพื้นที่มีอยู่น้อย ดังนั้นประชาชนจึงใช้สระโกสินารายณ์ในเทศกาลลอยกระทงประจำปี และเชื่อเชื่อว่าเป็นโบราณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีค่าควรแก่การระลึกถึงและเคารพบูชา


ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บึงกระจับ






บึงกระจับ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองกบ อยู่ห่างจากอำเภอบ้านโป่งเป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 215 ไร่ ครอบคลุมอยู่ในเขตอำเภอบ้านโป่ง และอำเภอโพธาราม การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 ก่อนถึงอำเภอบ้านโป่งประมาณ 3 กิโลเมตร จะเห็นวัดบึงกระจับอยู่ทางขวาเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร
บึงกระจับ เป็นสระน้ำจืดขนาดใหญ่ที่เก่าแก่ ต่อมาได้รับการพัฒนาตามโครงการตามแนวพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยชาวบ้านโป่ง หมู่ที่ 4 ตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ในวันที่ 13 กรกรฎาคม พ.ศ. 2543 บึงกระจับ เป็นบึงน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพื้นที่ภาคตะวันตก เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด สถานที่เล่นกีฬาทางน้ำ ได้แก่ เจ็ตสกี พายเรือแคนู โดยบริเวณ บึงฝั่งวัดบึงกระจับมีร้านอาหารริมน้ำไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว และประชาชนที่มาเที่ยวพักผ่อน

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

งานประกวดปลาสวยงาม ประจำปี 2553



งานประกวดปลาสวยงาม ประจำปี 2553 โดยเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงามจังหวัดราชบุรีจัดขึ้น ณ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี อำเภอบ้านโป่ง ระหว่างวันที่ 22 – 26 เมษายน 2553 ภายใต้ชื่องาน Ratchaburi Ornamental fish festiva l3 จังหวัดราชบุรีเป็นแหล่งผลิตปลาสวยงามที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ร้อยละ 80 ของปลาสวยงามที่ซื้อขายในตลาดประเทศไทย และส่งออกไปตลาดต่างประเทศ มาจากฟาร์มเพาะเลี้ยงภายในเขตจังหวัดราชบุรี ดังนั้นเพื่อเป็นการขยายช่องทางธุรกิจปลาสวยงาม และสนองความต้องการของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงามที่ต้องการให้หน่วยงานราชการช่วยเหลือในด้านการส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป โดยจัดให้มีงานประกวดปลาสวยงามขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรผู้เพาะลี้ยงปลาสวยงาม ได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เลี้ยง ผู้จำหน่าย และผู้ซื้อ เพื่อเป็นการประกวด และการแสดงปลาสวยงาม ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิต การขยายตลาด และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดความสนใจในด้านการเลี้ยงปลาสวยงามเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน นักเรียน ในเขตจังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง
ภายในงานมีการจัดกิจกรรม คือ การประกวดปลาสวยงาม 4 ชนิด คือ ปลาทอง ปลาหมอสีครอสบรีด ปลาหางนกยูง และปลากัด รวม 31 ประเภท
มีการจัดนิทรรศการพันธุ์ปลาสวยงาม พันธุ์ปลาไทย พันธุ์ปลาต่างถิ่น
พันธุ์ปลาทะเลที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และมีการแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆ การจำหน่ายพันธุ์ปลาสวยงาม และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

เจ้าแม่แก่นจันทร์ ตำนานแห่งเทพเมืองราชบุรี



ศาลเจ้าแม่แก่นจันทร์ ตั้งอยู่ใน บริเวณใกล้เชิงเขาแก่นจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ตัวศาลสร้างเป็นแถวยาวชั้นเดียว มีตำนานเล่าต่อกันมาว่าเจ้าแม่แก่นจันทร์ เป็นเทพที่สถิตอยู่ในไม้แก่นจันทร์ เป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม มีอายุนานนับร้อยปี โบราณว่าไว้ ต้นไม้ต้นใดที่มีแก่นสูงตั้งแต่ 1 คืบขึ้นไป จะมีวิมานของรุกขเทวดาสถิตอยู่ เพื่อคอยดูแลรักษาผู้ที่มากราบไหว้บูชา และมักจะเรียกชื่อของรุกขเทวดาประจำต้นไม้ตามชื่อของต้นไม้นั้น เช่น ต้นตะเคียนทองก็จะเรียกชื่อรุกขเทวดาว่า "เจ้าพ่อหรือเจ้าแม่ตะเคียนทอง" ดังนั้น "ไม้แก่นจันทร์" จึงมีผู้เลื่อมใสตั้งให้เป็น "เจ้าแม่แก่นจันทร์" ต่อมาได้มีแกะสลักไม้แก่นจันทร์ ให้มีรูปร่างเป็นหญิงสาว และเมื่อแกะสลักเสร็จเรียบร้อยก็ทำพิธีอัญเชิญให้ขึ้นไปประดิษฐานในศาลไม้หลังเก่า แต่ที่ตั้งของศาลไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดเรื่องไม่ดี จึงต้องย้ายตัวศาลไปอยู่ฝั่งตรงข้าม ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลในปัจจุบัน

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

วัดแคทราย





วัดแคทราย ตั้งอยู่บ้านแคทราย ถนนท้าวอู่ทอง หมู่ที่ 12 ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 19 ไร่ 3 งาน 43 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 20 ไร่ 2 งาน 11 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย วิหาร หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ และศาลาบำเพ็ญกุศล ฯลฯ วัดแคทราย ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2442 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2446 การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระสุดใจ รูปที่ 2 พระเคลือบ จนฺทสาโร รูปที่ 3 พระครูสุทธิบุญญาทร พ.ศ. 2503 – 2536 รูปที่ 4 พระครูสังฆรักษ์เฉลิม จนฺทธมโม พ.ศ. 2536 ถึงปัจจุบัน

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

วัดทุ่งราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดตากแดด)



วัดทุ่งราษฎร์ศรัทธาธรรม หรือวัดตากแดด ตั้งอยู่เลขที่ 45 บ้านตากแดด ถนนท้าวอู่ทอง หมู่ที่ 1 ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 87 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์จำนวน 2 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลัง อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 หลัง วิหาร หอระฆัง ศาลาเอนกประสงค์ และศาลาบำเพ็ญกุศล ฯลฯ
วัดทุ่งราษฎร์ศรัทธาธรรม ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2400 เดิมชื่อ วัดตากแดด ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ในสมัยพระครูพิทักษ์วุฒิธรรม ได้ทำการพัฒนาปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง เช่น กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง ต่อมาได้มีผู้บริจาคที่ดินให้วัดรวม 7 ไร่ 2 งานเศษ ได้มีการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่า ซึ่งชำรุดทรุดโทรม โดยได้รับความอุปถัมภ์จาก ดร. ปฏิพัทธ์ อารยศาสตร์ และนายเลี้ยง นางบุญสืบ แสงจันทร์ พร้อมกับราษฎรบ้านตากแดด ได้ร่วมใจกันบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างเสนาสนะ และอุโบสถ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดทุ่งราษฎร์ศรัทธาธรรม” วัดได้รับการพัฒนาและบูรณาการมาโดยตลอด จนถึงปัจจุบัน ได้รับพระทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2522 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระเม็ก รูปที่ 2 พระบัว รูปที่ 3 พระปิ่น รูปที่ 4 พระอยู่ รูปที่ 5 พระผัน รูปที่ 6 พระมหาสมโภช รูปที่ 7 พระสิน รูปที่ 8 พระครูพิทักษ์วุฒิธรรม พ.ศ. 2513 – 2539 รูปที่ 9 พระนำพล ฐานวโร พ.ศ. 2541 และรูปที่ 10 พระมหาณัฐวุฒิ อุตฺตเสโน พ.ศ. 2542 ถึงปัจจุบัน การศึกษามีโรงเรียนพระครูพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2522

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553

วัดโพธิ์ราษฎร์บูรณะ





วัดโพธิ์ราษฎร์บูรณะ ตั้งอยู่เลขที่ 111 บ้านพงสวาย หมู่ที่ 3 ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิสงฆ์ และศาลาบำเพ็ญกุศล ฯลฯ วัดโพธิ์ราษฎร์บูรณะ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2423 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2528 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทรายนาม คือ รูปที่ 1 พระสงัด สิริธมฺโม รูปที่ 2 พระช่วง รูปที่ 3 พระครูถาวรวุฒิธรรม (นาค) รูปที่ 4 พระครูวิสุทธิสมณวัตร (บาง) พ.ศ. 2527 – 2545 และรูปที่ 5 พระมหาบุญเลิศ จิตวฑฺฒโน พ.ศ. 2546 ถึงปัจจุบัน การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2512


ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553

วัดธรรมวิโรจน์


วัดธรรมวิโรจน์ ตั้งอยู่บ้านพงสวาย หมู่ที่ 5 ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
วัดธรรมวิโรจน์ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2200 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2209 การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระสำเนียง รูปที่ 2 พระหนำ รูปที่ 3 พระสมศักดิ์ รูปที่ 4 พระสว่าง พ.ศ. 2538 – 2541 และรูปที่ 5 พระอธิการประชุม อคฺครโต พ.ศ. 2541 ถึงปัจจุบัน

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : อัมพิกา

วัดถ้ำสิงโตทอง



วัดถ้ำสิงโตทอง ตั้งอยู่บ้านถ้ำสิงโต หมู่ที่ 11 ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 159 ไร่ 74 ตารางวา วัดถ้ำสิงโตทอง ตั้งเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ด้วยความเห็นริเริ่มของหลวงปู่โต๊ะ (พระราชสังวราภิมนฑ์ ) วัดประดู่ฉิมพลี ให้ดำเนินการจัดสร้างวัดขึ้น และเมื่อได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดถูกต้องแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินฉลองอุโบสถและฝังลูกนิมิต ในปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ วิหารธรรมสถานเมื่อ พ.ศ. 2527 และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเสด็จฉลองวิหารเมื่อ พ.ศ. 2528 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 60 เมตร การบริหารและการปกครอง มีพระครูสังฆรักษ์กุ้ยไฮ้ ชุตินฺธโร เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2534 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมแผนกสามัญ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2536 ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2543

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

มหัศจรรย์ค้างคาวร้อยล้าน ที่เขาช่องพราน



มหัศจรรย์ค้างคาวร้อยล้านที่เขาช่องพราน เขาช่องพรานตั้งอยู่ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม อยู่ห่างจากตัวอำเภอโพธารามไปทางทิศตะวันตกประมาณ 9 กิโลเมตร ถ้าจะมาจากตัวเมืองราชบุรีสามารถไปได้ โดยใช้เส้นทางเขางู-เบิกไพร ซึ่งห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 17 กิโลเมตร ปรากฏการณ์ที่แสนจะมหัศจรรย์ยิ่งที่ไม่ว่าใครก็ตามที่มีโอกาสมาเยี่ยมเยือนอำเภอโพธาราม หรือ จังหวัดราชบุรี จะพลาดไม่ได้ทีเดียว เพราะถ้าหากพลาดการชมปรากฏการณ์ ธรรมชาติอันนี้แล้ว จะเสียดายที่สุดหรืออาจจะพูดได้ว่าเหมือนกับไม่ได้มาเยี่ยมเยือนโพธารามเลย เพราะสิ่งที่สร้างชื่อให้เขาช่องพราน คือ ฝูงค้างคาวนับล้านตัว ที่กรูกันบินออกจากถ้ำพวยพุ่งเป็นสายสีดำ นานนับชั่วโมงทุกเย็นในช่วงใกล้พลบค่ำ ประมาณ 17.30 น. เพื่อออกหากินพร้อมกันเป็นสายยาวสีคล้ำ ดูคล้ายกับควันที่ลอยออกมาจากปล่องไฟ พาดผ่านท้องฟ้า บินต่อเนื่องกันเป็นสายยาวมุ่งหน้าไปยังทะเล จังหวัดสมุทรสาคร และจะกลับมาเข้าถ้ำประมาณ ตี 3 - ตี 5 โดยในช่วงฤดูร้อนฝูงค้างคาวจะบินไปทางทิศตะวันออก ในช่วงฤดูหนาวฝูงค้างคาวจะบินไปทางทิศตะวันตก ค้างคาวที่เขาช่องพรานนี้ ส่วนมากเป็นค้างคาวหนูหรือค้างคาวหางหนู ซึ่งเป็นค้างคาวขนาดเล็ก ที่มีหางยาวมาก อยู่ในวงศ์เอมบอลโลนูริแด นับเป็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก และเป็นที่ชื่นชมแก่นักท่องเที่ยวที่ได้มาเที่ยวชม จนได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน Unseen Thailand แห่งเมืองไทย
ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

หลวงพ่อศิลาแดง วัดโพธิ์ราษฎร์ศรัทธาธรรม



หลวงพ่อศิลาแดง วัดโพธิ์ราษฎร์ศรัทธาธรรม ตำบลสามเรือน อำเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ สมัยเชียงแสน แกะสลักด้วยหินศิลาแดงโดยช่างสมัยทวารวดี มีหน้าตักกว้าง 24 นิ้ว อายุประมาณสองพันกว่าปี ชาวบ้านสามเรือนไปพบพระพุทธรูปจมดินอยู่ที่วัดร้าง หมู่ที่ 4 ตำบลสามเรือน ในสภาพที่ชำรุด จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดโพธิ์ในสมัยของอาจารย์ทองห่อ เย็นใจ เป็นเจ้าอาวาส
เนื่องจากองค์ท่านแกะสลักด้วยหินศิลาแดง ที่มีสีแดง ชาวบ้านจึงพาเรียกท่านว่า หลวงพ่อศิลาแดง คนที่มาขอพรจากหลวงพ่อศิลาแดง เมื่อสำเร็จได้ตามที่ขอก็จะนำแตงโม ประทัด พวงมาลัย หรือบางครั้ง ก็นำลิเก ละคร มาถวายแก้บน โดยทางวัดได้จัดให้มีงานประจำปีระหว่างวันที่ 13 – 15 เมษายน หรือในช่วงงานประเพณีสงกรานต์

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

วัดเกาะเจริญธรรม



วัดเกาะเจริญธรรม ตั้งอยู่ที่ตำบลสามเรือน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 75 ตารางวา วัดเกาะเจริญธรรม ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2521 ไม่ปรากฏนามผู้สร้างและผู้บริจาคที่ดิน พระครูวิมลกิตติวัฒน์ได้พัฒนาและบูรณะวัดเรื่อยมา โดยได้รับความอุปถัมภ์จากราษฎรในหมู่บ้านมาโดยตลอด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2521 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 30 ยาว 20 เมตร การบริหาร และการปกครอง มีเจ้าอาวาส เท่าที่ทราบคือ รูปที่ 1 พระครูวิมลกิตติวัฒน์ พ.ศ. 2516 - 2542 รูปที่ 2 พระอธิการช้าง ชาตวีโร พ.ศ.2544 - ถึงปัจจุบัน การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2524

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

วัดโพธิ์ราษฎร์ศรัทธาธรรม



วัดโพธิ์ราษฎร์ศรัทธาธรรม ตั้งอยู่เลขที่ 7 บ้านสามเรือน ถนนวัดโพธิ์ หมู่ที่ 2 ตำบลสามเรือน อำเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 21 ไร่ 2 งาน 16 ตารางวา วัดโพธิ์ราษฎร์ศรัทธาธรรม ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2441 ผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัดคือ นายจันทร์ เย็นใจ นายโต๊ะ นายขัง วัดโพธิ์ราษฎร์ศรัทธาธรรม ได้รับการพัฒนาและบูรณะมาโดยตลอด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2519 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ภายในวัดมีต้นโพธิ์ ที่มีมาก่อนการตั้งวัด จึงเป็นที่มาของชื่อวัด พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ หอระฆัง วิหารพระศิลาแดง พระสังกัจจายน์ และรอยพระพุทธบาท ปัจจุบันมีพระครูจิรศรัทธาคุณ เป็นเจ้าอาวาส

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

วัดเขางู




วัดเขางู ตั้งอยู่เลขที่ 107 บ้านรางไม้แดง หมู่ที่ 6 ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 13 ไร่ 3 งาน 57 ตารางวา วัดเขางูตั้งเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2528 ชื่อวัดตั้งตามชื่อเขางู ผู้สร้างวัดคือ นายธีระ และนางแฉล้ม อุศุภรัตน์ เป็นผู้ขออนุญาตในการจัดตั้งวัด การสร้างและพัฒนาวัดได้เริ่มทำอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2535 โดยได้รับทุนจากประชาชนที่มีจิตศรัทธาทั่วไป และได้รับการสนับสนุนในด้านเครื่องมือเครื่องจักรกล และกำลังพลจากค่ายภาณุรังสี ส่วนที่ 2 เขากรวดจังหวัดราชบุรี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีพระครูใบฎีกา ประยูร รักษาการเจ้าอาวาสวัดเขางู แทนพระครูปลัดสงัดอภิญาโน ที่เพิ่งมรณภาพเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553 ภายในวัดมีศาลเจ้าพ่อเขางู หลวงพ่อใหญ่อยู่ที่เชิงเขาด้านหน้าวัด สมเด็จพระพุทธาจารย์โต พรหมรังษี ตำหนักอาภากร ตำหนักของกรมหลวงชุมพรเข ตอุดมศักดิ์ หอระฆัง และถ้าที่ประทับขององค์แม่นาคี พระมเหสีของเจ้าพ่อเขางู ฯลฯ

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

โคกนายใหญ่




โคกนายใหญ่ ตั้งอยู่ที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีลักษณะเป็นฐานเจดีย์ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างยาวด้านละ 10.30 เมตร สูง 3.15 เมตร ฐานชั้นล่างเป็นฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยม ฐานชั้นที่สองเป็นฐานขององค์เจดีย์ ลักษณะเป็นฐานบัวโค้งถัดขึ้นไปเป็นช่องซุ้มรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซ้อนกันเป็นสองชั้นไม่ปรากฏร่องรอย การประดับปูนปั้นภายในซุ้ม ส่วนยอดของเจดีย์ชำรุดมาก ไม่สามารถบอกรูปทรงได้แน่นอน

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

น้ำตกเก้าชั้น หรือ เก้าโจร



น้ำตกเก้าชั้น หรือ เก้าโจร (เก้ากระโจน) ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยผาก หมู่ 7 ตำบลผาผึ้ง เลยจากธารน้ำร้อนบ่อคลึงไปประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีความสูง 9 ชั้น ตกจากหน้าผาสูงกลางหุบเขา มีน้ำตลอดปี ปริมาณน้ำจะมากในชั้นบน ๆ หินบริเวณน้ำตกเป็นหินแกรนิต แต่เดิมน้ำตกนี้รู้จักกันเฉพาะในกลุ่มชาวกะเหรี่ยง ต่อมาบริษัทต่างชาติเข้ามารับสัมปทานเหมืองแร่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2484 ต่อมาเมื่อหมดสัมปทาน ทางอำเภอและกลุ่มองค์กรท้องถิ่นจึงได้เข้ามาดูแลพื้นที่ การเดินไปชมน้ำตก จากลานจอดรถเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 500 เมตร จะถึงบริเวณน้ำตกชั้นล่าง ซึ่งสามารถเดินเท้าขึ้นไปถึงชั้นสุดท้ายได้ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง ค่าเข้าชม รถยนต์ รถตู้ รถปิกอั๊พ คันละ 30 บาท รถบัส 100 บาท

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โป่งยุบ



โป่งยุบ ตั้งอยู่ที่บ้านท่าเคย ตำบลท่าเคย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นพื้นที่ของชาวบ้าน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีลักษณะแปลกตา เกิดจากการยุบตัวของแผ่นดินทำให้เกิดลักษณะโตรกผาคล้ายแพะเมืองผี จังหวัดแพร่ เนื่องจากเป็นที่ส่วนบุคคล ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวหลัก ดังนั้นต้องสังเกตป้ายบอกทางให้ดี เพราะป้ายเล็ก เมื่อถึงที่จอดรถก็จะมีรั้วที่เจ้าของกั้นไว้ ชำระค่าเข้าชมเป็นคันรถ คันละ 40 – 80 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของรถ และจำนวนคน สอบถามได้จากเจ้าของที่ที่เฝ้าอยู่หน้าทางเข้า เดินเข้าไปตามป้ายบอกทาง จะวนจนครบรอบกลับมาที่ทางออกพอดี
โป่งยุบเกิดจากการปั้นแต่งของธรรมชาติ ที่น้ำใต้ดินกัดเซาะเป็นเวลานานนับร้อยปี ทำให้ดินยุบตัวลงมาอัดกันแน่นเกิดเป็นรูปร่างตามแนวน้ำใต้ดินที่กัดเซาะ บางบริเวณจะคล้ายกำแพงเมืองสูงล้อมรอบ ดูยิ่งใหญ่เหมือนอยู่ในยุคโรมัน บางบริเวณจะเหมือนช่องถ้ำให้มุดลงไป หรือบางครั้งเป็นหลุมลึกขนาดพอดีตัว บางส่วนมีความซับซ้อนหลายชั้นเหมือนกับเดินอยู่ในเขาวงกตดูแปลกตา และนี่คือสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้น ส่วนที่สูงและลึกที่สุดของโป่งยุบประมาณ 3-5 เมตร ข้อควรระวัง หากมีเด็กเล็กระวังอย่าให้วิ่งเล่นโดยไม่ได้ดูแล อาจตกลงไปในหลุมโดยไม่รู้ตัวได้ เนื่องจากบางหลุมปากหลุมไม่กว้างมากนัก แต่ลึก และถูกบดบังด้วยต้นหญ้า และถ้ามีผู้สูงอายุที่มีปัญหาหัวเข่ามาด้วยควรให้พักรอ เนื่องจากเส้นทางค่อนข้างลาดชัน และระยะทางยาวพอสมควร ถ้าบวกกับอากาศร้อนตอนกลางวันยิ่งจะทำให้เหนื่อยเร็วขึ้น โดยโป่งยุบจะเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น.

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ธารน้ำร้อนบ่อคลึง


ธารน้ำร้อนบ่อคลึง ตั้งอยู่ที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ผู้ค้นพบคือ นายประยูร โมนยะกุล โดยนายประยูรได้เข้ามาทำเหมืองแร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 ที่ฝั่งตรงข้ามธารน้ำร้อนแห่งนี้ และได้ใช้ที่ดินบริเวณธารน้ำร้อนนี้ปลูกบ้านพักอาศัย ปลูกพืช เลี้ยวสัตว์ บ้านพักคนงาน และได้ค้นหาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค จนกระทั่งพบตาน้ำร้อน เป็นน้ำซับซึมขึ้นมาจากทราย จึงได้ให้คนงานรื้อทรายออกและขุดเป็นบ่อน้ำเพื่อตักน้ำมาใช้ ต่อมาได้ให้คนงานซึ่งเป็นหน่วยพัฒนาของครอบครัวช่วยกันรื้อทรายออกแล้วปล่อยให้น้ำไหลลงมาเป็นลำธาร เหมือนที่ท่านเห็นทุกวัน นายประยูร ได้ดูแลรักษาที่นี่ด้วยหยาดเหงื่อแรงกายและชีวิตของท่าน ไม่ให้ใครมาตัดไม้ทำลายป่า หรือทำเหมืองแร่เถื่อนบริเวณนี้ และได้ทำเขื่อนกั้นน้ำเย็นออกจากน้ำร้อน เพื่ออนุรักษ์ธารน้ำร้อนแห่งนี้เอาไว้ และเรียกที่แห่งนี้ว่า “Hot Spring of Klueng Land”
มหัศจรรย์ธรรมชาติที่ธรรมชาติสร้างขึ้น จากตาน้ำที่มีอุณหภูมิสูงถึง 57 องศาเซลเซียส ทำให้ลำธารที่เกิดจากการผุดของตาน้ำแห่งนี้ กลายเป็นธารน้ำแร่ที่สะอาด ปราศจากแร่ธาตุที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ในยามเช้าของฤดูหนาวไอน้ำร้อนจะลอยกรุ่นขึ้นเป็นหมอกสวยลอยเป็นชั้นเหนือลำธาร และจากการตรวจวิเคราะห์ทางเคมี ชีวะ และฟิสิกส์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ พบว่าน้ำแร่ที่ได้จากธารน้ำร้อนบ่อคลึง น้ำสามารถอาบและดื่มได้ไม่มีอันตรายเจือป่น การอาบน้ำร้อนจะช่วยให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตในร่างกายดีขึ้น เสริมสร้างความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ การแช่ในน้ำแร่ร้อนก็เสมือนกับการอบไอน้ำไปในตัวซึ่งจะช่วยในการลดความอ้วนได้ นอกจากนี้ในบริเวณ J.W. ธารน้ำร้อนแห่งนี้ยังมีบ้านพักไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว ซึ่งภายในตกแต่งหลากหลายสไตล์มีบริการอ่างแช่น้ำส่วนตัวทุกห้อง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้พักผ่อนพร้อมได้สุขภาพที่ดีก่อนกลับบ้าน ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นายวฤทธิ์ ศุภสุธีกุล (โมนยะกุล) โทร 085-2199294 , 081-8903225

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หลวงปู่เทพประทานพร



หลวงปู่เทพประทานพร พระพุทธรูปปางประทานพรสมาธิเพชร สร้างสมัยทวารวดี แกะจากหินทราย หน้าตักกว้าง 27 นิ้ว สูง 90 เซนติเมตร เป็นพระเก่าแก่ประจำวัดธรรมเจดีย์ หรือวัดท่าโขลงในปัจจุบัน ชาวบ้านและผู้มีจิตศรัทธา เมื่อ ประสบปัญหาเดือดร้อนทุกข์ใจ กับตนเอง และครอบครัวจะมาอธิษฐานขอพรจาก หลวงปู่เทพ ส่วนมากจะสัมฤทธิ์ผล หลุดพ้นจากความทุกข์ สมความปรารถนาทุกราย ชาวบ้านจึงเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงปู่เทพประทานพร”

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วัดนาหนอง



วัดนาหนอง ตั้งอยู่เลขที่ 38 บ้านนาหนอง หมู่ที่ 2 ตำบลดอนแร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน 45 ตารางวา วัดนาหนอง ได้สร้างขึ้น และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2430 โดยนายหล้า นายตั๋น ร่วมกับชาวบ้านนาหนอง เป็นผู้ริเริ่มสร้าง มีเจ้าอาวาสวัดปกครองมาแล้ว 5 รูป ปัจจุบันมีพระครูสิริคณาภรณ์ (อเนก) เป็นเจ้าอาวาส มีเสนาสนะสมบูรณ์แบบเกิดขึ้นในสมัยพระครูวิธานศาสนกิจ (หลวงพ่อโห้) เจ้าอาวาสรูปที่ 2 ได้สร้างมณฑปบนยอดเขาซึ่งติดอยู่กับวัด ไว้เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท และพระพุทธไสยาสน์ โดยคุณหลวงและนางฤทธิ์ศักดิ์ชลเขต อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี คนที่ 6 ซึ่งมีบ้านเกิดอยู่ติดกับวัดนาหนอง ได้สร้างรอยพระพุทธบาท มาประดิษฐานไว้ในมณฑปบนยอดเขา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 และได้กำหนดจัดงานปิดทองพระพุทธบาทประจำปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี จนกลายเป็นงานเทศกาลประจำปีของวัด มาเป็นเวลายาวนานถึง 72 ปี และในปี 2552 ทางวัดนาหนอง ได้รับการอนุมัติจากเถรสมาคม ให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรม หน่วยที่ 7 ของจังหวัดราชบุรี

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วัดหนองหอย



วัดหนองหอย ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เส้นทางถนนเบิกไพร – เขางู ห่างจากตัวเมืองประมาณ 12 กิโลเมตร วัดหนองหอย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2416 เป็นที่ตั้งของพระวิหาร พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์กวนอิม มีความสูง 16 เมตร หน้าตักกว้าง 9 เมตร ประชาชนทั่วไปเรียกกันว่า "เขาเจ้าแม่กวนอิม วัดหนองหอย" ซึ่งตั้งบนยอดเขาแร้ง และอีกด้านหนึ่งของยอดเขา (เขาพระใหญ่) ประดิษฐานพระพุทธรัตนโกสินทร์มหามุณี (หลวงพ่อใหญ่) เป็นวัดที่มีผู้ศรัทธานิยมมาไหว้พระกันมาก โดยเฉพาะในวันเทศกาลหรือวันหยุด ปัจจุบันวัดหนองหอยกลายเป็นที่รู้จักของสาธุชนทั่วไป ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เป็นที่ล่ำลือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก ขออะไรก็จะสมหวัง วัดหนองหอย เปิดให้เข้าชม ตั้งแต่เวลา 07.00 – 17.00 น.

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ศาลเจ้าเงาะ



ศาลเจ้าเงาะ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดอรัญญิกาวาส ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี นายประเสริฐ สังวรสมาธิ และนายน้อย โตชาติ ผู้ดูแลศาลเจ้าเงาะ กล่าวว่า ศาลเจ้าเงาะก่อตั้งเมื่อกลางปี 2552 เดิมที่มีคนนำเจ้าเงาะมาวางทิ้งไว้ที่บริเวณวัด ต่อมามีชาวบ้านส่วนหนึ่งได้มาขอโชคลาภ และสมหวัง จึงได้ร่วมกันบริจาคเงินก่อตั้งศาลให้กับเจ้าเงาะ หลังจากนั้นต่อมาชื่อเสียงของศาลเจ้าเงาะก็เป็นที่รู้จักกันเรื่อยมา มีประชาชนจำนวนมากเดินทางมาขอพร และขอโชคลาภ และส่วนมากจะได้สมดังที่หวังไว้ มีหญิงชาวอำเภอปากท่อคนหนึ่ง เธอได้เล่าว่าเจ้าเงาะ ได้ไปเข้าฝัน ให้โชคลาภและเป่ามือของเธอ ทั้งที่เธอไม่เคยเห็นเจ้าเงาะมาก่อน หลังจากนั้นเธอก็สงหวังโชคลาภ ดังที่เจ้าเงาะกล่าวไว้ เธอจึงได้เดินทางมากราบไหว้ ขอพร กับเจ้าเงาะมาตลอด โดยในบริเวณศาลเจ้าเงาะจะมีบ่อน้ำของทางวัด ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยมีปลาอาศัยอยู่บริเวณนี้ แต่พอมีประชาชนนำละครมาแก้บน ตามที่ตนได้ขอพรและสมหวัง เสียงของละคร บวกกับคำเชื่อตามนิทาน เรื่องสังข์ทอง ที่เจ้าเงาะเรียกปลาได้ ทำให้มีปลาตะเพียนแดงจำนวนมากมาอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบริเวณศาลเจ้าเงาะแห่งนี้

ถ่ายภาพ / ตัดต่อ / เขียนบท : คมปิยะ
เสียงบรรยาย : กาญจนา