วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พระอาทิมงคลวัดมหาธาตุ


วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นวัดที่มีความเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ของเมืองราชบุรี จากหลักฐานทางโบราณคดีและทางประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าวัดมหาธาตุ ชุมชนราชบุรีแห่งที่ 2 เมือง คูบัวหมดความสำคัญลง จากหลักฐานทางโบราณคดีและกรมศิลปากร วัดมหาธาตุเป็นสัญลักษณ์ของนครมักนิยมสร้างไว้กลางพระนคร เป็นประจักษ์พยานแห่งความรุ่งโรจน์ของราชบุรีในช่วงหลัง พ.ศ.1700 ศิลปะการก่อสร้างโบราณสถาน ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบบายนเมืองพระนครของกัมพูชา สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และพระปรางค์ของวัดมหาธาตุวรวิหารถือเป็นศูนย์กลางความเจริญสถาปัตยกรรมทางโบราณคดี และมีรูปแบบของปรางค์ได้รับอิทธิพลจากขอม รอบระเบียบคตมีพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ทั้งสมัครทวารวดี สมัยลพบุรี สมัยอยุธยา และจากการขุดค้นพบวัตถุโบราณและพระพุทธรูปภายในวัดมหาธาตุวรวิหาร ของกรมศิลปะกร และพระอาทิมงคล ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ที่มีการค้นพบ พร้อมได้มีการบูรณะซ่อมแซมและนำมาประดิษฐานบริเวณลานของฐานองค์พระปรางค์ รูปแบบของพระอาทิมงคล ที่มีการบูรณะมีความสูงประมาณ 2 เมตรเศษ ได้นำมาประดิษฐานช่วงต้นปี พ.ศ.2550 เป็นพระพุทธรูปปรางค์ประทานพร สมัยทวารวดี แต่รูปแบบจะแตกต่างกับปรางค์ประทานพรของพระพุทธรูปสมัยอยุธยา และสมัยต่าง ๆ มาก คือลักษณะปรางค์ลักษณะคล้ายกับการดีดน้ำมนต์ แต่รูปแบบลักษณะขององค์พระพุทธรูป แม่ว่าจะมีการบูรณะให้แต่ละองค์คงสภาพเดิมไว้มากที่สุด และถือว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และเป็นศูนย์กลางความเจริญทางโบราณคดีของวัดมหาธาตุวรวิหารในปัจจุบัน


ภาพ/เรื่อง : วัฒนา อ่วมเนตร 3 ส.ค.50

ไม่มีความคิดเห็น: